วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555

การใช้ STEM CELL ในการรักษาโรค


การใช้ STEM CELL ในการรักษาโรค

เซลล์ต้นกำเนิด (Stem Cell) คุณสมบัติพิเศษในการแบ่งตัวให้เป็นเซลล์ของเนื้อเยื่อชนิดต่างๆในร่างกายได้ โดยยังคงมีความสามารถในการแบ่งตัวเองให้เป็นเซลล์ต้นกำเนิดเหมือนเดิมและสามารถพัฒนาเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่จำเพาะได้ พบได้ในสายสะดือ เลือด และไขกระดูก เป็นที่ทราบในทางการแพทย์ว่ามีความสำคัญต่อการสร้างระบบเลือด รวมถึงระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ซึ่งในผู้ใหญ่จะเป็นสเต็มเซลล์จากไขกระดูกที่มีหน้าที่สร้าง เม็ดเลือดชนิดต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงเซลล์ที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน ปัจจุบันได้มีนักวิจัยมากมายที่สนใจการในนำสเต็มเซลล์มาใช้ในการรักษาโรค เช่น ธาลัสซีเมีย ลิวคิเมีย อัลไซเมอร์ พาร์กินสัน อัมพาตไขสันหลัง กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เบาหวาน ให้หายขาดได้
แหล่งที่มาของสเต็มเซลล์ แบ่งได้ เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
 1. เซลล์ต้นกำเนิดในตัวอ่อน (Embryonic stem cell) ได้แก่ เซลล์ที่มาจากการผสมระหว่างอสุจิของเพศชายและไข่ของเพศหญิงจนเกิดเป็นตัวอ่อน (embryo) ไม่นิยมใช้แพร่หลายเนื่องจากปัญหาทางจริยธรรม ส่วนเซลล์ต้นกำเนิดในตัวเต็มวัย ได้มาจากไขกระดูก กล้ามเนื้อ หรือจากเลือด ยังมีความสามารถที่จะเจริญต่อไปเป็นเซลล์อื่นได้ตามอวัยวะที่เซลล์นี้ไปอยู่ และเป็นเซลล์ที่ยอมรับว่าไม่ผิดจริยธรรมและมีการศึกษานำไปใช้อย่างแพร่หลาย โรคที่สเต็มเซลล์มีศักยภาพที่จะรักษาได้คือ โรคระบบประสาท เช่น โรคสมองตาย อัลไซเมอร์ กลุ่มโรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกาย ได้แก่ โรคหัวใจ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจวาย โรคเบาหวาน มะเร็ง โรคทางโลหิตวิทยา เช่น ธาลัสซีเมีย มะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคกระดูกและกระดูกอ่อน โรคตับแข็ง แผลเรื้อรัง
2. เซลล์ต้นกำเนิดในตัวเต็มวัย (Adult stem cell) ปัจจุบันถือว่าเป็นวิทยาการใหม่ทาง เพราะการใช้ประโยชน์จากสเต็มเซลล์เป็นความหวังที่จะนำไปรักษาโรคร้ายแรง ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ อย่างไรก็ตาม การใช้สเต็มเซลล์มารักษาโรคต่างๆ ภายในประเทศไทย ยังอยู่ในขั้นตอนของการทำวิจัยและพัฒนา ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนของวิธีปฏิบัติที่ใช้ในการรักษาโรค ดังนั้น การประเมินการรักษาในขณะนี้จึงยังไม่สามารถยืนยันว่าจะสามารถซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของเนื้อเยื่อหรืออวัยวะที่มีปัญหาได้จริง แต่หากป่วยเป็นโรคที่รักษาไม่ได้ วิธีที่ใช้รักษาอยู่ไม่ได้ผลดี การใช้เซลล์ต้นกำเนิดบำบัดอาจเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่านำมาพิจารณา
การนำไปรักษาโรค
1.        โรคมะเร็ง ใช้ในการรักษาที่เรียกว่า การปลูกถ่ายไขกระดูก เมื่อพบว่ามีเซลล์มะเร็งเป็นจำนวนมากอยู่ในร่างกาย แพทย์จะให้ยาเคมีบำบัดในปริมาณสูง เพื่อไม่ให้เซลล์มะเร็งสร้างตัวต่อไปได้ จากนั้นจึงนำเซลล์ต้นกำเนิดที่ปราศจากเซลล์มะเร็งใส่เข้าไปในตัวผู้ป่วยแทน แล้วเซลล์ใหม่ที่เข้าไปก็จะเจริญเติบโตขึ้น ช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิตจากมะเร็งและรอดพ้นจากการเสียชีวิตด้วยการให้ยาเคมีบำบัดได้
2.        โรคเบาหวาน มีการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์เพื่อไปซ่อมแซมเซลล์ที่ถูกทำลาย
3.        โรคภาวะหัวใจวายและโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด สเต็มเซลล์จะถูกนำไปปลูกถ่ายโดยการฉีดเข้าสู่หัวใจของผู้ป่วยในบริเวณที่มีการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจ เพื่อสร้างหลอดเลือดใหม่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ  ซึ่งพบว่าสามารถช่วยเสริมสร้างการก่อตัวของหลอดเลือดใหม่ภายในบริเวณเนื้อเยื่อที่มีการอุดตันของหลอดเลือดและบรรเทาอาการของโรคที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย ซึ่งได้แก่อาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในรายที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาที่มีอยู่ในปัจจุบัน ผลการรักษาอยู่ในเกณฑ์ที่มีความปลอดภัยสูงและได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจ
4.        โรคพาร์กินสัน  ศาสตราจารย์ Alan  Mackay-Sim หน่วยงานวิจัยด้าน stem cell  มหาวิทยาลัย  Griffith  ว่า สามารถใช้ Adult Stem Cell ซึ่งนำมาจากเซลล์จากจมูกของคนในการรักษาโรคพาร์กินสันได้ ผลการวิจัยเมื่อได้ทดลองปลูกถ่าย Adult Stem Cell ไประยะหนึ่งก็พบว่า เซลล์เหล่านี้ยังคงทำงานได้อย่างปกติ และมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นการค้นพบที่มีค่าและประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับวงการแพทย์ ในการรักษาผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน
5.        โรคธาลัสซีเมีย  มีการปลูกถ่ายเลือดจากสายสะดือเพื่อรักษาโรคธาลัสซีเมีย สำเร็จเป็นรรายแรกของโลก ในปี พ.ศ.2538 นพ.พีรพล  อิสรไกรศีล และคณะที่โรงพยาบาลศิริราช โดยใช้เลือดจากสายสะดือของน้องที่เข้ากันได้ (HLA-identical)
Stem Cell เป็นสิ่งที่มีศักยภาพสูงสำหรับอนาคตข้างหน้า อาจมีประโยชน์มหาศาลในการนำมาใช้รักษาโรคต่างๆ ข้อมูลเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบันยังนับว่าน้อยมากและยังอยู่ในขั้นทดลองในห้องปฏิบัติการหรือในสัตว์ทดลอง การจะนำมาใช้ในมนุษย์ได้จริงต้องผ่านกระบวนการศึกษาอย่างรอบคอบเป็นระยะเวลายาวนานเพื่อที่จะได้ทราบถึงผลดี ผลเสีย และศึกษากลไกต่างๆ ในการทำงานของ Stem Cell ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้เสียก่อนจึงจะนำมารักษาในมนุษย์ได้อย่างเต็มรูปแบบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น