วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555

งานวิจัย ความวิตกกังวลของนักกีฬาประเภทเดี่ยวและประเภททีมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 38


บทที่ 1
บทนำ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
                ในปัจจุบันนี้หน่วยงานต่างๆได้มองเห็นถึงความสำคัญของการออกกำลังกายและการเล่นกีฬา มีการส่งเสริมให้ทุกคนหันมาออกกำลังกาย และเล่นกีฬา เพื่อให้มีสุขภาพอนามัยทั้งกายและจิตใจที่สมบูรณ์แข็งแรง จากการเล่นกีฬาเพื่อสุขภาพ ก็เริ่มมีการผลักดันให้มีการแข่งขันกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ  มีรายการแข่งขันต่างๆเกิดขึ้นมากมาย  สำหรับในประเทศไทยนั้น รายการแข่งขันที่สำคัญรายการหนึ่ง คือ การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย  ถือเป็นรายการที่บุคคลหลายๆฝ่ายต่างให้การสนใจเป็นอย่างมาก เพราะเป็นรายการที่นักกีฬาทีมชาติในแต่ละสถาบันจะต้องมาทำการแข่งขันกัน เพื่อสร้างชื่อเสียงให้กับสถาบันที่ตนศึกษาอยู่ นอกจากนี้ยังเป็นรายการที่คัดสรรเฟ้นหานักกีฬาเพื่อเข้าสู่ทีมชาติในอนาคต จึงทำให้การแข่งขันรายการนี้เต็มไปด้วยนักกีฬาที่มีความเป็นเลิศในแต่ละชนิดกีฬามาเข้าร่วมแข่งขัน  และที่สำคัญในการแข่งขันครั้งที่ 38 นี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ทำให้นักกีฬาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถูกคาดหวังไว้สูงมาก ก่อให้เกิดความวิตกกังวล ก่อนการแข่งขันในครั้งนี้
                นักกีฬาไม่สามารถปฏิเสธความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นได้ แต่ขึ้นอยู่กับความสามารถในการควบคุมตนเองของนักกีฬาแต่ละคน ซึ่งในปัจจุบันนี้ เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าความวิตกกังวล  มีบทบาทสำคัญต่อการแสดงความสามารถทางการกีฬา ถ้านักกีฬารู้สึกวิตกกังวลจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งเป็นสาเหตุให้นักกีฬาไม่สามารถควบคุมตนเองได้ และไม่สามารถแสดงทักษะได้อย่างเต็มที่ในการแข่งขัน กลุ่มผู้วิจัยได้ตระหนักถึงความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นเหล่านี้  จึงต้องการที่จะศึกษาเปรียบเทียบถึงความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นในนักกีฬาประเภทเดี่ยวและประเภททีมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยครั้งที่ 38 เพื่อที่จะเป็นแนวทางให้แก่ ผู้ฝึกสอน นักกีฬาตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้เข้าใจ และตระหนักถึงความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นกับนักกีฬา นำผลที่ได้จากการวิจัยไปปรับปรุงแก้ไข สร้างความมั่นใจในให้แก่นักกีฬาสำหรับการแข่งขันในครั้งต่อไปและเพื่อสร้างนักกีฬาให้เข้าร่วมการแข่งขันในระดับที่สูงขึ้นไป
วัตถุประสงค์การวิจัย
1.       เพื่อศึกษาความวิตกกังวลทางจิต ความวิตกกังวลทางกาย และความเชื่อมั่นของนักกีฬาประเภทเดี่ยว และประเภททีม ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยครั้งที่ 38
2.       เพื่อเปรียบเทียบความวิตกกังวลทางจิต ความวิตกกังวลทางกายและความเชื่อมั่นในตนเอง ของนักกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยครั้งที่ 38
3.       เพื่อเปรียบเทียบสาเหตุของความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น ระหว่างนักกีฬาประเภทเดี่ยวและประเภททีม
ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยครั้งที่ 38

ขอบเขตของการวิจัย
1.       การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาถึงสาเหตุและ ผลของระดับความวิตกกังวล ในนักกีฬาประเภทเดี่ยวและประเภททีม ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยครั้งที่ 38 โดยกลุ่มตัวอย่างเป็น นักกีฬาที่เป็นตัวแทนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่กำลังฝึกซ้อมเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนี้
2.       ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย
-          ตัวแปรอิสระ : นักกีฬา
-          ตัวแปรตาม : ระดับความวิตกกังวล และสาเหตุที่ทำให้เกิดความวิตกกังวล
-          ตัวแปรควบคุม : ประเภทของกีฬาที่กลุ่มตัวอย่างเข้าร่วม

ข้อตกลงเบื้องต้น
1.       ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามตอบด้วยความตั้งใจ และให้ความเป็นจริงตามสภาพของตนเอง
2.       แบบวัดความวิตกกังวลในการแข่งขันใช้แบบวัด ซีเอสเอไอ-2 ( CSAI-2) ของมาร์เทนส์ วีลเลน์ และเบอร์ตัน ( Martens,Vealey,and burton,1990)ซึ่งนำมาแปลเป็นภาษาไทย โดย นภพร ทัศนัยนา

คำจำกัดความที่ใช้ในการวิจัย
1.       นักกีฬา                                          นิสิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่ง
ประเทศไทยครั้งที่ 38 ประจำปีพุทธศักราช 2554 ระหว่างวันที่ 15-22 มกราคม 2554

2.       นักกีฬาประเภททีม                     ผู้ที่มีความสามารถในทักษะทางกีฬาที่เล่นเป็นชุด  การเล่นต้องอาศัยความ
ร่วมมือและการประสานงานกันเองของผู้เล่นทุกคนในชุด เช่น ฟุตบอล

3.       นักกีฬาประเภทเดี่ยว                  ผู้ที่มีความสามารถในทักษะทางกีฬาที่เล่นเป็นรายบุคคล เช่น ว่ายน้ำ

4.       กีฬามหาวิทยาลัย                         การจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่38 พุทธศักราช
2554   ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

5.       ความวิตกกังวล                             ความรู้สึกหวาดหวั่น  หวาดกลัว  ไม่สบายใจ  และรู้สึกเป็นทุกข์  รวมทั้ง
ความเครียดที่เกิดจากการคาดการณ์ล่วงหน้าว่าจะผิดหวังล้มเหลว  หรือจะมีอันตรายในการแข่งขันกีฬา  ความวิตกกังวลเป็นประสบการณ์ทางลบที่ไม่
พึงประสงค์

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย
1.       ทำให้ทราบถึงระดับความวิตกกังวล และความสัมพันธ์ของความวิตกกังวลทางจิต ความวิตกกังวลทางกาย และความเชื่อมั่นในตนเอง ในนักกีฬาประเภทเดี่ยว และประเภททีม ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก่อนการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38
2.       ผลการวิจัยจะเป็นประโยชน์สำหรับนักกีฬา ผู้ฝึกสอนกีฬา และผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อจะได้ตระหนักถึงความสำคัญของความวิตกกังวลของนักกีฬาก่อนการแข่งขันกีฬา และเป็นแนวทางในการควบคุมความวิตกกังวลและทักษะทางจิตอื่น ๆเพื่อเตรียมนักกีฬาก่อนการแข่งขันที่จะเป็นปัจจัยต่อความสำเร็จและพัฒนาขีดความสามารถของนักกีฬาให้สูงขึ้น
3.       เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาค้นคว้าความรู้ทางจิตวิทยา ซึ่งจะเป็นแนวทางที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย















บทที่ 2
แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ความหมายของความวิตกกังวล (Anxiety)
                ความวิตกกังวล (Anxiety) มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกว่า “to press tight” หรือ “to stangle” หมายถึง กดให้แน่น รัดให้แน่น และมาจากภาษลาตินว่า “anxious” หมายถึง ความคับแค้นหรือบีบรัด ความวิตกกังวล มีความหมายที่หลากหลาย ซึ่งมีผู้ให้คำนิยาม ไว้ดังนี้
                ความหมายที่ 1 ความวิตกกังวล ตามทฤษฏีของฟรอยด์ หมายถึง สภาวะของความตึงเครียดที่เกิดจากแรงขับ (Drive) คล้ายความหิวหรือความรู้สึกทางเพศ แต่ต่างกันตรงที่สภาวะดังกล่าวไม่ได้เกิดจากสภาพร่างกายภายใน แต่มีสาเหตุดั้งเดิมมาจากภายนอก เมื่อความวิตกกังวลถูกเร้าให้เกิดขึ้น จะสร้างแรงจูงใจบุคคลต้องทำอะไรบางอย่างเพื่อลดสภาวะดังกล่าว เช่นเดียวกับ โมร์เรอร์ (Mowrer, 1963) ได้อธิบายความวิตกกังวลไว้ว่า ความวิตกกังวลคืออารมณ์ชนิดหนึ่งคล้ายกับเมื่อเรามีความหิวกระหาย เป็นสภาพตึงเครียดหรือเป็นสภาพที่คนเรารู้สึกไม่สบายใจซึ่งต้องกำจัดให้หมด เป็นตัวการที่ผลักดันให้คนเรากระทำพฤติกรรมบางอย่างหรืออาจเรียกว่าเป็นแรงจูงใจชนิดหนึ่ง
                ความหมายที่ 2 ความวิตกกังวลเป็นสภาพคล้ายกับความกลัว และมีความสัมพันธ์กับความกลัวอย่างใกล้ชิด    ฮิลการ์ด (Hilgard, 1962) ความวิตกกังวลเป็นสภาพที่บุคคลรู้สึกกระวนกระวายใจ เป็นความซึ่งต่างจากความกลัวธรรมดา กล่าวคือ ความกลัวธรรมดานั้นมีวัตถุหรือสิ่งที่ทำให้กลัวปรากฏเป็นรูปร่างให้เห็น แต่ความวิตกกังวลเป็นความกลัวที่เลือนราง ไม่แจ่มชัด เป็นสภาพที่ทำให้บุคคลรู้สึกไม่สบายใจ เกิดความตึงเครียด สภาพเหล่านี้บุคคลต้องการหลีกหนี
                ความหมายที่ 3 ความวิตกกังวลเป็นลักษณะของอาการต่างๆที่เกิดขึ้น เมื่อมีสถานการณ์มากระทบ ซึ่ง บลัคเกอร์ (Blucker, 1982) ได้อธิบายอาการที่เกิดขึ้นได้แก่
1.      อาการทางประสาท มักใช้คู่กับคำว่า “วิตกกังวล” เกือบทุกคนมีอาการทางประสาทในเวลาใดเวลาหนึ่ง อาการประสาทสามารถรับรู้ได้ในความรุนแรงที่มีหลายระดับ
2.      อาการความตึงเครียด เป็นอีกคำหนึ่งที่ใช้อธิบายซึ่งตามปกติมักจะเป็นความวิตกกังวลในระดับต่ำ จะเห็นได้ในรูปของความรับรู้ไว
3.      อาการความกลัว เป็นระดับของความวิตกกังวลที่สูงขึ้น และจะมีผลอย่างรุนแรงต่อความสามารถในการเล่นกีฬา ความวิตกกังวลนั้นอาจเกิดจาก
3.1    ความวิตกกังวลจากจิตไร้สำนึก ซึ่งเป็นความวิตกกังวลที่บุคคลไม่ตระหนักรู้
3.2   ความตกกังวลที่เกิดได้อย่างอิสระ ซึ่งเป็นความวิตกกังวลที่รุนแรงอันอาจสังเกตได้ และความวิตกกังวลนี้อาจย้อนกลับมาใหม่ได้อีก
4.      อาการเสียขวัญ เป็นความวิตกกังวลที่รุนแรงที่สุด ดังนั้นไม่ควรให้เกิดการเสียขวัญขึ้นในหมู่นักกีฬา การเสียขวัญทำให้ทีมประสบความล้มเหลวได้ง่าย ถ้าความวิตกกังวลมีความรุนแรงจะทำให้บุคคลไม่สามารถควบคุมตัวเองได้อย่างเต็มที่ และไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้

อิงลิช  (English, 1958) ได้ให้ความหมายของความวิตกกังวลสรุปเป็นข้อๆได้ดังนี้ 
1.   ความวิตกกังวลเป็นสภาวะของความไม่สบายใจ   อันเนื่องมาจากความปรารถนาอันแรงกล้า และแรงขับไม่อาจไปถึงเป้าหมายที่ต้องการได้
2.    ความวิตกกังวล หมายถึง ความกังวลอันว้าวุ่นสับสนว่าอาจมีสิ่งที่เลวร้ายเกิดขึ้นในอนาคต
3.    ความวิตกกังวล หมายถึง ความกลัวต่อเนื่องซึ่งอาจสังเกตเห็นได้ แต่อยู่ในระดับต่ำ
4.   ความวิตกกังวล หมายถึง ความรู้สึกว่าตนเองถูกคุกคาม ซึ่งเป็นการคุกคามที่น่ากลัว โดยบุคคลนั้นไม่อาจบอกได้ว่าสิ่งที่เขารู้สึกว่ามาคุกคามนั้นคืออะไร
                โมว์เรอร์  (Mowrer, 1963)  ได้กล่าวถึงความวิตกกังวลว่า  ความวิตกกังวล  คือ อารมณ์  แต่เป็นอารมณ์ซึ่งคล้ายกับเมื่อเรามีความหิวกระหาย  เป็นสภาพตึงเครียด  หรือเป็นสภาพที่คนเรารู้สึกไม่สบายใจซึ่งต้องกำจัดไปให้หมด  นอกจากนั้นยังเป็นตัวการที่ผลักดันให้คนเรากระทำพฤติกรรมบางอย่าง  ซึ่งในแง่นี้อาจถือได้ว่าเป็นแรงจูงใจซึ่งสอดค้องกับที่ฮอลล์ และ ลินเซย์ (Hall and Lindzey, 1970 : 44)  ได้กล่าวถึงความวิตกกังวลตามทฤษฎีของฟรอด์ (Freud)  ไว้ว่า  ความวิตกกังวลหมายถึง  สภาวะของความตึงเครียด  เป็นแรงขับ (Drive)  คล้ายความหิวหรือความรู้สึกทางเพศ  แต่ต่างกันตรงที่สภาวะดังกล่าวไม่ได้เกิดจากสภาพร่างกายภายใน  หากแต่มีสาเหตุดั้งเดิมมาจากภายนอก  เมื่อความวิตกกังวลถูกเร้าให้เกิดขึ้นะสร้างแรงจูงใจให้บุคคลต้องทำอะไรบางอย่างเพื่อลดสภาวะดังกล่าว
                ออซุเบล (Ausubel , 1968) กล่าวว่า ความวิตกกังวล หมายถึง แนวโน้มของบุคคลที่ตอบสนองต่อเหตุการณ์หรือสถานการณ์นั้น จะทำให้เขาต้องเสียความภาคภูมิใจ (Self Esteem) ความวิตกกังวลต่างกับความกลัวธรรมดาในแง่ที่ว่า สิ่งที่มากระทำนั้นมักจะกระทำต่อความภาคภูมิใจของบุคคล มากกว่าที่จะกระทำต่อร่างกายของบุคคลนั้น เช่น บุคคลจะรู้สึกกลัวเมื่อสุนัขจะกัด แต่จะเกิดความวิตกกังวลเมื่อเขาต้องเสียความภาคภูมิใจในตนเอง
                ลิปคิน และ โคเฮน (Lipkin and Cohen, 1973) ได้ให้ความหมายของความวิตกกังวลไว้ว่า ความวิตกกังวล หมายถึงความรู้สึกเครียด ความไม่สบาย ความกระวนกระวาย และความกลัว ซึ่งเกิดขึ้นจากความกดดันซึ่งอาจทราบหรือไม่ทราบสาเหตุก็ได้
                สตรองแมน (Strongman, 1978) ได้อธิบายว่า ความวิตกกังวลเป็นปฏิกิริยาที่ตอบสนองภาวะทางอารมณ์ที่สูงเกินไป ของความไม่ราบรื่นหรือไม่มีความสุข
                ค๊อก (Cox, 1985) ได้ให้ความหมายไว้ว่า เป็นความรู้สึกเชิงนามธรรม ลักษณะหวาดหวั่น และมีความเร้าอารมณ์สูง ความรู้สึกดังกล่าวมักสัมพันธ์กับความกลัว
                ซิงเกอร์ (Singer, 1985) ได้ให้ความหมายว่า หมายถึงปฏิกิริยาของความกลัวที่มีต่อสถานการณ์หรือสภาพการณ์ ซึ่งมีแนวโน้มที่รับรู้ว่าตนเองจะถูกคุกคาม หรือเกิดความเครียด
                สปีลเบอร์เกอร์(Spielberger, 1989) ได้ให้คำนิยามไว้ว่า ความวิตกกังกล หมายถึง การตอบสนองทางอารมณ์ที่มาจาก
1.       ความตึงเครียด ความหวาดหวั่น และความกระวนกระวายใจ
2.       ความไม่สบายใจ
3.       ความเปลี่ยนแปลงด้านสรีรจิต
                สปีลเบอร์เกอร์(Spielberger) ได้กล่าวว่า ความวิตกกังวลมีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางชีวจิตวิทยา ที่เกิดขึ้นแบบพลวัต (Dynamic) มีองค์ประกอบ 3 ประการคือ ความกดดัน การรับรู้ต่อความกดดัน และการตอบสนองทางอารมณ์
                วัฒนา ศรีสัตย์วาจา (2517) ได้กล่าวว่า ความวิตกกังวล หมายถึง สภาวะทางจิตใจที่มีอารมณ์ต่อการเคลื่อนไหว ขี้อาย หวาดระแวงและกลัว บางครั้งหาสาเหตุไม่ได้ ควบคุมตนเองไม่ได้และมีความเคร่งเครียด ซึ่งตรงกับ มานิต ถนอมพวงศรี (2522) ว่า ความวิตกกังวล หมายถึง สภาพทางอารมณ์ซึ่งบุคคลรู้สึกไม่สบายใจ ตึงเครียด หงุดหงิด อารมณ์เสียง่าย กังวลใจ หวาดระแวง หวาดกลัว คิดฟุ้งซ่าน และ อำพล โอ่งเคลือบ (2525) ได้สรุปความวิตกกังวลว่ามีลักษณะสำคัญ 3 ประการ
1.       ความวิตกกังวล หมายถึง สภาพทางอารมณ์ซึ่งคนเรารู้สึกไม่สบายใจ ตึงเครียด รู้สึกไม่มั่นคงในความปลอดภัย เนื่องจากตนถูกคุกความรู้สึกวุ่นวายสับสน เกิดความหวาดกลัว ซึ่งสภาพเหล่านี้บุคคลต้องการหลีกหนีหรือขนัดให้หมดไป
2.       ความวิตกกังวล มีลักษณะคล้ายกับความกลัว แต่เป็นความกลัวที่เลือนลางไม่มีสิ่งที่ทำให้ปรากฎให้เห็น หรือไม่อาจบอกได้ว่าสิ่งที่ทำให้กลัวคืออะไร
3.       ความวิตกกังวล อาจถือได้ว่าเป็นแรงขับซึ่งสัมพัณธ์กบแรงจูงใจ
                อุดม พิมพา ( 2526) ได้สรุปความวิตกกังวลไว้ว่า เป็นสภาพทางอารมณ์ที่ถูกกระตุ้นภายใน จนก่อให้เกิดความรู้สึกที่ไม่สบายใจ และทำให้บุคคลนั้นมีความลำบากในการปรับตัว ต่อสภาพการณ์เฉพาะอย่าง
                ศิลปชัย สุวรรณธาดา (2532) ได้กล่าวถึงความวิตกกังวล เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการคาดการณ์ล่วงหน้าว่าจะผิดหวัง ล้มเหลว หรือเป็นอันตราย
จากความหมายดังกล่าวสรุปได้ว่า ความตกกังวลเป็นสภาพทางอารมณ์ อันไม่พึงปรารถนาของบุคคล ที่รู้สึกหวั่นกลัว ไม่สบายใจ ล้มเหลว หรือเป็นผลจากการคาดเหตุการณ์ล่วงหน้า ต่อเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ถ้าบุคคลใดมีระดับความวิตกกังวลที่สูงหรือต่ำเกินไป จะทำให้เป็นผลต่อสภาพร่างกาย และสมรรถภาพการทำงานของร่างกายลดลง แต่ระดับความวิตกกังวลของคนเราอยู่ในระดับที่เหมาะสมก็จะทำให้เกิดประโยชน์ได้เช่นเดียวกับ ศิลปะชัย สุวรรณธาดา (2532) กล่าวไว้ว่า ถ้านักกีฬามีความวิตกกังวลสูงจะควบคุมพฤติกรรมตนเองไม่ได้ และเป็นสาเหตุให้ความสามารถที่แสดงออกต่ำกว่ามาตรฐานหรือที่คาดไว้ เพื่อให้แสดงความสามารถได้เต็มที่ นักกีฬาจะต้องเรียนรู้กุศโลบาย ควบคุมความวิตกกังวลให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

ความคาดหวังในความสำเร็จ
ความคาดหวังกับแรงกดดันจากกลุ่ม
Kiesler และ Kiesler  (1970)  ได้ให้คำนิยามแรงกดดันจากกลุ่มไว้ว่า  “แรงกดดันจากกลุ่ม  เป็นแรงผลักดันทางจิตที่ทำให้บุคคลเกิดความต้องการที่จะทำตามความคาดหวังของผู้อื่น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อความคาดหวังเหล่านั้นสอดคล้องกับ “บบาท”  หรือพฤติกรรมที่เฉพาะเจาะจงหรือบ่งบอกถึง “บรรทัดฐาน”  ของกลุ่มเรา”
                แรงกดดันจากกลุ่ม  เป็นแรงผลักดันทางจิตที่ทำให้บุคคลเกิดความต้องการที่จะทำตามความคาดหวังของผู้อื่นนั้น  หมายถึง  การที่บุคคลมีพฤติกรรมเหมือนกับกลุ่มเราหรือสอดคล้องกับความคาดหวังของกลุ่ม
                บุคคลจะคล้อยตามกลุ่มหรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเพราะสาเหตุดังต่อไปนี้
1         เพื่อให้ได้รับการยอมรับ
2          เพื่อไม่ให้ถูกปฎิเสธจากกลุ่ม
3         เพื่อไม่ให้เกิดความแตกแยกขึ้นในกลุ่ม
Kiesler และ Kiesler  (1970)  กล่าวว่า  การที่บุคคลจะถูกกระตุ้นให้ทำตามความคาดหวังของผู้อื่นนั้น  สามารถแบ่งออกได้ 2 รูปแบบ  ดังนี้
1                     บุคคลตอบสนองต่อแรงกดดันจากกลุ่มเพราะ  กลุ่มจะเป็นตัวกำหนดบรรทัดฐานของตน  ดังนั้น  บุคคลจะพยายามทำตามความคาดหวังของกลุ่มเพื่อให้เป็นที่ชื่นชอบ  ได้รับการยอมรับ  เพื่อให้เป้าหมายของกลุ่มประสบผลสำเร็จและเพื่อให้กลุ่มสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่น
2                     บุคคลตอบสนองต่อแรงกดดันจากกลุ่ม  เพราะความต้องการทางปัญญาหรือความต้องการข้อมูล  ดังนั้นกลุ่มจึงเป็นเสมือนกับแหล่งข้อมูล  ความคาดหวังของกลุ่มจะเป็นเสมือนแหล่งให้ข้อมูลที่ถูกต้อง  ช่วยยืนยันว่าความคิดเห็นของตนสอดคล้องกับความคิดเห็นของกลุ่มหรือไม่  และยังใช้ในการประเมิณตนเองและผู้อื่นอีกด้วย
โดยสรุปแล้ว  แรงกดดันจากกลุ่มเป็นตัวกระตุ้นหนึ่งซึ่งทำให้เกิดการคล้อยตาม  และความคาดหวังของผู้อื่นก็ถือเป็นแรงกดดันจากกลุ่มประเภทหนึ่ง  ที่มีประสิทธิภาพมาก  เพราะมนุษย์ให้ความสำคัญกับกลุ่มและสนใจว่ากลุ่มจะคิดอย่างไรกับตน  ทำให้ความคาดหวังมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมและความเชื่อของบุคคล  บุคคลจึงคล้อยตามความคาดหวังของผู้อื่นเพื่อให้ได้รับการยอมรับ  ไม่ถูกปฎิเสธหรือไม่ให้เกิดความแตกแยกขึ้นในกลุ่ม
การรับรู้ความคาดหวังของผู้อื่น
                บุคคลอาจรับรู้ความคาดหวังของผู้อื่นได้โดประจักษ์  เช่น  รับรู้จากข้อบังคับหรือกฎระเบียบต่างๆ ที่กลุ่มร่างออกมา  หรือจากคำสั่งจากหัวหน้ากลุ่ม  เป็นต้น  แต่ในบางกรณีบุคคลจะรับรู้ความคาดหวังของผู้อื่นโดยนัย คือจะรับรู้เพียงว่าความเชื่อหรือพฤติกรรมนั้นๆได้รับความเห็นชอบจากกลุ่มหรือไม่  ยกตัวอย่างเช่น เมื่อผู้วิจัยอ่านผจากแบบสอบถามว่า  “เห็นได้ชัดว่าคุณคิดว่าภาพวาดสีส้มเป็นภาพที่ดีที่สุด  ในขณะที่คนอื่นๆในกลุ่มคิดว่าภาพว่าสีฟ้าและสีเขียวดีกว่า”  (Kiesler และ Kiesler, 1970) คำพูดเช่นนี้สามารถทำให้บุคคลรับรู้ถึงความคาดหวังของกลุ่มได้ แม้ว่าจะไม่ได้บอกออกมาอย่างชัดแจ้งก็ตาม
                Bandura  (1956)  พบว่า  บุคคลสามารถรับรู้ความคาดหวังของกลุ่มได้  แม้ว่ามันจะไม่แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งก็ตาม  สิ่งเหล่านี้เกี่ยวข้องกับแรงกดดันจากกลุ่ม  เพราะเมื่อบุคคล  ได้รับแรงกดดันจากกลุ่มจะทำให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ  ซึ่งอาจเรียกได้ว่า  เป็นการยอมตาม  และแรงกดดันเช่นนี้ไม่ได้ชี้นำอย่างชัดแจ้ง  ว่าบุคคลควรจะเปลี่ยนแปลงแต่จะบอกเป็นนัยแทน
                Kiesler และ Kiesler (1970) ได้เสนอว่า บุคคลมักให้ความสำคัญกับบุคคลต่างๆที่อยู่รอบตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งมักจะสนใจว่าพฤติกรรมของตน แตกต่างจากพฤติกรรมของผู้อื่นหรือไม่ หากแตกต่างจากผู้อื่นจะทำให้เกิดการรับรู้เป็นนัยว่า ผู้อื่นต้องการให้ตนเปลี่ยนแปลงให้เหมือนกับคนอื่นๆ
                กล่าวโดยสรุปได้ว่า  บุคคลสามารถรับรู้ความคาดหวังจากกลุ่มได้ทั้งโดยประจักษ์และโดยนัย  หลังจากรับรู้แล้วบุคคลจะถูกกระตุ้นให้ต้องยอมรับแรงกดดันนี้  และทำให้รับรู้ว่าตนควรจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือความเชื่อของตนหรือไม่

ความคาดหวังตามรูปแบบของ Gudjonsson และ Clark (1986) และงานวิจัยต่างๆ
                จากรูปแบบของ Gudjonsson และ Clark (1986)  ได้อธิบายถึงองค์ประกอบด้านความคาดหวัง  โดยได้ระบุว่า  การให้ความคาดหวังก่อนการถามคำถามจะทำให้เกิดการคล้อยตามสิ่งชี้นำได้  ซึ่งอาจทำได้โดยการชี้แนะกับผู้ตอบว่าพวกเขาควรตอบคำถามได้ถูกหมดทุกข้อ  การพูดเช่นนี้จะไปเพิ่มความคาดหวังให้กับผู้ตอบ  ส่งผลให้เกิดการยอมรับสิ่งชี้แนะได้ง่ายยิ่งขึ้น  แต่หากผู้ถามไม่ได้คาดหวังว่าผู้ตอบจะต้องตอบคำถามได้ทั้งหมด  ก็จะทำให้ผู้ตอบมีความระมัดระวังในการตอบคำถามมากยิ่งขึ้น  สรุปได้ว่าคนที่ได้รับความคาดหวังสูงจะเกิดความลังเล  และไม่กล้าบอกว่าตนไม่รู้คำตอบหรือไม่แน่ใจว่าคำตอบที่ถูกต้องคืออะไร  ส่วนคนที่ไม่ได้รับความคาดหวังจะกล้ายอมรับว่าตนไม่รู้คำตอบมากกว่า
                งานวิจัยหลายงานวิจัยได้ชี้ให้เห็นว่า  การจัดกระทำความคาดหวังส่งผลต่อการเพิ่มหรือลดการคล้อยตามสิ่งชี้นำได้  ในงานวิจัยของ Gudjonsson และ Hilton (1989)  ได้แบ่งผู้เข้าร่วมการทดลองออกเป็น 3กลุ่ม โดยกลุ่มที่ 1 ได้รับความคาดหวังว่าควรจะจำเรื่องราวได้ทั้งหมดและสามารถตอบคำถามได้  (ได้รับความคาดหวังสูง)  กลุ่มที่ 2 ให้คำชี้แนะตามรูปแบบของมาตรวัดการคล้อยตามสิ่งชี้นำของ Gudjonsson ฉบับที่ 1 (Gudjonsson  Suggestibilty  Scale 1 : GSS 1)  ซึ่งไม่มีการให้ความคาดหวังเกี่ยวกับผลงานเลย  จะบอกเพียงให้ทำให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้  (ไม่ได้รับความคาดหวัง)  ส่วนกลุ่มที่ 3  ได้รับคชี้แนะว่าผู้ถามไม่ได้คาดหวังว่าจะต้องตอบได้ทุกข้อ  (ได้รับความคาดหวังต่ำ)  ผลที่ได้พบว่าทั้ง 3 กลุ่มมีการคล้อยตามสิ่งชี้นำแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  และพบว่าการให้ความคาดหวังมีผลต่อความคล้อยตามสิ่งชี้นำ
                Hansdottir, Thorsteinsson, Kristinsdottir และ Ragnarsson (1990)  ศึกษาอิทธิของการให้คำชี้แนะ  และความวิตกกังวลที่มีต่อการคล้อยตามสิ่งชี้นำ  โดยใช้เพลงเพื่อจัดกระทำความวิตกกังวล  และใช้คำพูดในเชิงชี้แนะเพื่อเป็นการจัดกระทำความคาดหวัง  (ความคาดหวังสูง  หรือ  ความคาดหวังต่ำ)  งายวิจัยนี้พัฒนามาจากงานของ Gudjonsson และ Clark ในปี 1986 ซึ่งได้พัฒนารูปแบบทฤษฎีการคล้อยตามสิ่งชี้นำตามที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนต้น  การจัดกระทำกับความคาดหวังตามที่ระบุไว้ในรูปแบบทฤษฎีนั้น  สามารถจัดกระทำโดยใช้คำพูนในเชิงชี้แนะก่อนที่จะเริ่มถามคำถาม  เช่น  ชี้แนะผู้ร่วมการทดลองว่าพวกเขาควรจะตอบคำถามได้ถูกทุกข้อ  (ความคาดหวังสูง)  คนที่ได้รับความคาดหวังเช่นนี้จะเกิดความลังเลและไม่กล้าที่จะบอกว่าตนไม่รู้คำตอบหรือไม่แน่ใจ  ส่วนคนที่ไม่ได้รับความคาดหวังว่าควรจะตอบคำถามได้ทุกข้อ  (ความคาดหวังต่ำ)  จะกล้ายอมรับว่าตนไม่รู้คำตอบมากกว่า  ดังนั้น  คนที่ได้รับความคาดหวังสูงจึงมีแนวโน้มที่จะยอมเชื่อตามคำถามชี้นำมากกว่าคนที่ได้รับความาดหวังต่ำ  งานวิจัยนี้มีสมมติฐานว่า  การได้รับความคาดหวังและความวิตกกังวลจะทำให้การคล้อยตามสิ่งชี้นำเพิ่มมากขึ้น  ในการดำเนินการวิจัย  ผู้วิจัยให้ผู้ร่วมการทดลอง  ซึ่งเป็นชาย 20คน และหญิง 20 คน  เข้ารับการทดลองโดยบอกว่าเป็นการศึกษาถึงความสัมพันธ์ของบุคลิดภาพกับความจำ  จากนั้นจึงให้เลือกสถานการณ์ที่มีมาให้ 1 สถานการณ์ ที่ตนรู้สึกว่าทำให้เกิดความวิตกกังวลมากที่สุด  แล้วจึงให้ฟังเพลงเพื่อจัดกระทำความวิตกกังวล  โดยแบ่งออกเป็น 2 เงื่อนไข  คือ  เพลงที่ก่อให้เกิดความกังวลมาก (Stravinsky’s “Rite of Spring”)  หรือเพลงที่มีลักษณะเป็นกลาง (piano sonata No. 31 opus 110 by Beethoven)  จากนั้นจึงเริ่มให้ความคาดหวัง (ความคาดหวังสูงหรือความคาดหวังต่ำ)  ก่อนเริ่ททำมาตรการค้อยตามสิ่งชี้นำตามวิธีการของ Gudjonsson
                ผลที่ได้จากการวิจัย พบว่า ความคาดหวังเป็นอิทธิพลต่อการคล้อยตามสิ่งชี้นำมากกว่าความวิตกกังวล  นั่นคือ  พบความแตกต่างระหว่าง  กลุ่มที่ได้รับความคาดหวังสูงและกลุ่มที่ได้รับความคาดหวังต่ำอย่างมีนัยสำคัญทาวสถิติ  ส่วนการจัดกระทำความวิตกกังวลจะมีผลกับกลุ่มที่ได้รับความคาดหวังต่ำเท่านั้น
                งายวิจัยนี้เป็นไปตามรูปแบบของ Gudjonsson และ Clark (1986) ที่ว่า คนที่ได้รับความคาดหวังสูงจะคล้อยตามสิ่งชี้นำได้มากกว่าคนที่ได้รับความคาดหวังต่ำ นอกจากนี้แม้ว่าในรูปแบบจะระบุว่า สภาวะความวิตกกังวลมีอทธิพลต่อการคล้อยตามสิ่งชี้นำ แต่ผลจากการวิจัยจะเห็นได้ว่า การคล้อยตามสิ่งชี้นำจะเกิดขึ้นเฉพาะในกลุ่มที่ได้รับความคาดหวังต่ำเท่านั้น อาจกล่าวได้ว่า คนที่ได้รับความคาดหวังสูงจะมีความกดดันและความวิตกกังวลมากอยู่แล้ว จึงทำให้การจัดกระทำความวิตกกังวลมีผลเพียงเล็กน้อยเท่านั้น



ปรัชญาของการแข่งขันกีฬา
                ในปัจจุบันการกีฬาที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่ามีบทบาทในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมมนุษย์เป็นอย่างมาก การยอมรับดังกล่าวนี้เกิดขึ้นกับบุคคลและสังคมมนุษย์ทุกระดับ จะเห็นได้จากการที่ผู้นำหรือประมุขของประเทศต่างๆ ที่มีศักยภาพทางการเมือง ทางด้านบุคลากร และทางด้านเศรษฐกิจค่อนข้างสูง พยายามเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาที่สำคัญๆ การได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาที่สำคัญๆเช่นนั้นย่อมส่งผลกระทบในทางที่ดีต่อประเทศชาติหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม เศรษฐกิจ หรือทางด้านการเมือง และเป็นการวัดความเจริญก้าวหน้า ศักยภาพของประชากร วัฒนธรรม และเทคโนโลยีของประเทศนั้นๆด้วย

อุดมการณ์ของการแข่งขันกีฬา
                ในปัจจุบัน แม้ว่าจากความหมายของการแข่งขันกีฬา เป้าหมายของการแข่งขัน เพื่อต้องการชัยชนะ ต้องการความเป็นเลิศ และต้องการผลประโยชน์ หรือส่วนแบ่งที่มากกว่าก็ตาม แต่ในความเชื่อพื้นฐานแห่งอุดมการณ์ของการแข่งขันกีฬาที่แท้จริง ยังต้องเน้นให้ผู้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬามี “สุขภาพและมิตรภาพ” ที่ดีต่อกันอยู่เสมอ
                ปัญหามีอยู่ว่า จะทำอย่างไรให้ผู้เข้าแข่งขันทุกคนดำเนินการแข่งขันกีฬาเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ ยุติธรรม และเป็นไปตามเป้าหมายและความเชื่อพื้นฐานแห่งอุดมการณ์นั้น
                วิธีการหนึ่งที่เป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบันก็คือ การจัดการแข่งขันที่ดี มีประสิทธิภาพ มีความยุติธรรมกับทุกคน ทุกฝ่าย โดยมีกติกา ระเบียบการแข่งขัน และมีข้อบังคับไม่ให้ผู้เข้าร่วมการแข่งขันทำผิด หรือเอารัดเอาเปรียบผู้แข่งขัน การจัดการแข่งขันกีฬาที่ดีจะสามารถพัฒนาคนให้เป็นผู้รู้จักแพ้ชนะ รู้จักอภัย มีวินัย เคารพผู้อื่น และการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี จนสามารถประยุกต์สถานการณ์การแข่งขันกีฬาไปใช้ในการดำรงชีวิตจริงในสังคมได้อย่างมีความสุข


งานวิจัยในประเทศ

                งานวิจัยที่สามารถค้นคว้าได้ เป็นการวิจัยเกี่ยวกับความวิตกกังวลในการแข่งขันกีฬา รวมถึงปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ ดังนี้
ทรงศักดิ์  สร้อยแสงทอง (2534)  ได้ทำการวิจัยเรื่อง  ความวิตกกังวลในการแข่งขันกีฬาของนักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาวิทยาลัยพลศึกษาแห่งประเทศไทย  ครั้งที่ 16 (2534 : 40-74)  โดยใช้กลุ่มตัวอย่างคือ  นักกีฬาวิทยาลัยพลศึกษาที่เข้าร่วมแข่งขันกีฬาวิทยาลัยพลศึกษาแห่งประเทศไทยครั้งที่ 16  ทำการสุ่มอย่างง่าย  เป็นจำนวน  385 คน  โดยใช้แบบวัดความวิตกกังวลในการแข่งขันกีฬา  (SCAT) ของมาร์เทนส์ (Martens)  ผลการศึกษาพบว่า  นักกีฬามีความวิตกกังวลอยู่ในระดับปานกลาง ถือว่ามีระดับความวิตกกังวลที่เหมาะสม  เนื่องจากนักกีฬาส่วนใหญ่มีความพร้อมอยู่ในระดับมากถึงร้อยละ 45.5  และนักกีฬาส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการแข่งขันมาก่อนแล้ว  ทำให้นักกีฬาทราบระดับความสามารถของคู่แข่ง  จึงไม่ทำให้เกิดความเครียดกับนักกีฬามากนัก
นพพร เล้าเรืองศิลป์ชัย (2533) ได้ทำการศึกษาเรื่อง การศึกษาความวิตกกังวลในการแข่งขันกีฬาของนักกีฬาพิการที่เข้าแข่งขันกีฬาคนพิการแห่งประเทศไทยครั้งที่ 12 ประจำปีพ.ศ. 2533 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาพิการทั้งชายและหญิงที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาคนพิการแห่งประเทศไทยครั้งที่ 12 จำนวน 359 คนโดยใช้แบวัดความวิตกกังวลในการแข่งขันกีฬา (SCAT) ของมาร์เทนส์ (Martens) ผลการศึกษาพบว่า ความวิตกกังวลของนักกีฬาพิการทางด้านร่างกายมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (17.59) รองมาได้แก่ นักกีฬาพิการทางด้านการได้ยิน (18.84) และนักกีฬาพิการทางด้านสายตา (19.37) แสดงว่านักกีฬาพิการด้านสายตามีความวิตกกังวลสูงกว่านักีฬาพิการอีก 2 ประเภท
นัยนา  บุพพวงษ์ (2538)  ได้ทำการวิจัยเรื่อง  ความวิตกกังวลของนักเรียนโรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรีในการแข่งขันกีฬานักเรียน นักศึกษา กรมพลศึกษา  และการแข่งขันคัดเลือกกีฬาเยาวชนตัวแทนเขต 7 กลุ่มตัวอย่าง  เป็นนักเรียนโรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี  ที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬานักเรียน นักศึกษา กรมพลศึกษา  และการแข่งขันคัดเลือกกีฬาเยาวชนตัวแทนเขต 7 จำนวน 105 คน  โดยใช้แบบวัดความวิตกกังวลในการแข่งขันกีฬา (SCAT)  ของมาร์เทนส์ (Martens)  ผลการวิจัยพบว่า  นักเรียนที่เข้าแข่งขันกีฬานักเรียน นักศึกษา กรมพลศึกษา  มีความวิตกกังวลทางจิตระดับปานกลาง (11.98 – 21.54) ความวิตกกังวลทางกายระดับปานกลาง (11.29 – 19.33) และความเชื่อมั่นในตนเองระดับที่เหมาะสม (14.8 – 30.22)  ในการแข่งขันคัดเลือกกีฬาเยาวชนตัวแทนเขต 7 นักกีฬามีความวิตกกังวลทางจิตระดับปานกลาง (10.71 – 17.29)  ความเชื่อมั่นในตนเองระดับเหมาะสม (15.20 – 29.80)
พีรเจต  ริ้วทอง (2537 : บทคัดย่อ)  ได้ทำการวิจัยเรื่อง  การศึกษาแรงจูงใจของนักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งปร้เทศไทย  ครั้งที่ 21  พ.ศ. 2536  เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบแรงจูงใจของนักกีฬาประเภทบุคคลและประเภททีม  กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬา  จำนวน 800 คน  แบ่งเป็นนักกีฬาประเภทบุคคล 400 คน  และนักกีฬาปรเภททีม 400 คน  ประสบความสำเร็จ 256 คน  เครื่องมือที่ใช้คือ  แบบวัดแรงจูงใจภายใน  และแบบวัดแรงจูงใจภายนอกของไวส์  จากผลการทดลองพบว่า  นักกีฬาประเภทบุคคลและนักกีฬาประเภททีม  มีแรงจูงใจภายในมากกว่าแรงจูงใจภายนอก  นักกีฬาที่ประสบความสำเร็จทั้งประเภทบุคคลและประเภททีมมีแรงจูงใจภายในมากกว่าแรงจูงใจภายนอก  แรงจูงใจของนักกีฬาที่ประสบความสำเร็จทั้งประเภทบุคคลและประเภททีม  มีแรงจูงใจไม่ต่างกัน 
พีรยุทธ เรืองวราหะ (2533)  ได้ทำการวิจัยเรื่อง  ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความวิตกกังวลกับความสามารถของนักกีฬายิงปืนในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยครั้งที่  17  โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬายิงปืนประเภทปืนสั้นอัดลมทีมชายและทีมหญิง  กับประเภทปืนยาวทีมชายและทีมหญิง  ที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยครั้งที่  17  จำนวน  120 คน  โดยใช้แบบวัดความวิตกกังวลในการแข่งจันกีฬา (SCAT)  ของมาร์เมนส์ (Martens) ใบบันทึกคะแนนการแข่งขันยิงปืนประเภทปืนสั้นอัดลมและปืนยาวอัดลม  ใบบันทึกระดับความวิตกกังวลและคะแนนที่ได้จากการแข่งขันยิงปืน  ผลการศึกษาพบว่า  ความวิตกกังวลไม่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการแข่งขันยิงปืน
ภคภูมิ  สุขเกษม (2548 : บทคัดย่อ)  ได้ทำการวิจัยเรื่อง  การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของมหาวิทยาลัย  ที่เข้าร่วมกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 33 พ.ศ. 2548  โดยส่งแบบสอบถามไปยัง  ผู้จัดการทีม  ผู้ฝึกสอน  นักกีฬา  จำนวน 296 ฉบับ  ได้รับคืนมา 256 ฉบับ  คิดเป็นร้อยละ 86.94  ผลการวิจัยพบว่า  จากการเปรียบเทียบการรับรู้ระหว่างผู้จัดการทีม  ผู้ฝึกสอน  และนักกีฬาเกี่ยวกัยรายการที่มีผลต่อความสำเร็จของมหาวิทยาลัย  พบว่า  ผู้จัดการทีม ให้ความสำคัญด้านความสัมพันธ์ระหว่างผู้จัดการทีมและนักกีฬามากที่สุด  ผู้ฝึกสอนให้ความสำคัญด้านความสามารถในการพัฒนาความสามารถของนักกีฬาโดยผู้ฝึกสอนมากที่สุด  นักกีฬาให้ความสำคัญด้านการเอาใจใส่นักกีฬาของผู้จัดการ    ทีมมากที่สุด
วิริยะ  เกตุมาโร (2534ได้ทำการวิจัยเรื่อง  ความสัมพันธ์ระหว่างความวิตกกังวลในการแข่งขันกีฬากับความรับผิดชอบในการฝึกซ้อมกีฬาของนักกีฬา  ในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยครั้งที่ 18  พ.ศ. 2533 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ฝึกสอนนักกีฬาและนักกีฬา  เพศชายและเพศหญิงของมหาวิทยาลัยต่างๆทีเข้าร่วมการแข่งขัน  เป็นจำนวน 1000 คน  โดยใช้แบบวัดความวิตกกังวลในการแข่งขัน (SCAT)  ของมาร์เทนส์  (Martens)  ผลการิวจัยพบว่า  ความวิตกกังวลในการแข่งขันกีฬากับความรับผิดชอบในการฝึกซ้อมกีฬาไม่มีความสัมพันธ์กันโดยนักกีฬามีคะแนนความวิตกกังวลอยู่ในระดับสูงและตัวนักกีฬามีผลประเมิณความรับผิดชอบในการฝึกซ้อมกีฬาออกมาสูงเช่นกัน
ศรุตี  ศรีจันทร์วงศ์ (2536 : 136)  ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับ  การระบุสาเหตุของความสำเร็จและความล้มเหลวในสถานการณ์การกีฬา  ของนักกีฬาชายและนักกีฬาหญิงประเภทบุคคล  ในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย  ครั้งที่ 20 ปี พ.ศ. 2536  เพื่อศึกษาสาเหตุความสำเร็จและศึกษาปฎิสัมพันธ์ร่วมระหว่างกลุ่มนักกีฬากับเพศ  โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นนักกีฬาเทนนิส  เทเบิลเทนนิส  แบดมินตัน  ยูโด  ฟันดาบ  ประเภทบุคคลเดี่ยว  จำนวน 200 คน เป็นชาย 100 คน หญิง 100 คน  ผลการวิจัยพบว่า  สาเหตุของความสำเร็จหรือความล้มเหลวในสถานการณ์กีฬาที่เกิดจากปัจจัยภายนอก  ที่มีลักษณะไม่คงที  ควบคุมไม่ได้ (โชค)  ระหว่างนักกีฬาที่ประสบความสำเร็จ  และนักกีฬาที่ประสบความล้มเหลว  อยู่ในระดับต่ำ  สาเหตุในด้านสภาพการแข่งขัน  นักกีฬาประสบความสำเร็จอยู่ในระดับปานกลาง  นักกีฬาที่ประสบความล้มเหลว อยู่ในระดับต่ำ  สาเหตุด้านความยากของงาน  นักกีฬาที่ประสบความสำเร็จและนักกีฬาที่ประสบความล้มเหลว อยู่ในระดับปานกลาง    ปัจจัยภายใน(ควบคุมไม่ได้)  ด้านอคติของโค้ช  นักกีฬาที่ประสบความสำเร็จอยู่ในระดับปานกลาง  และนักกีฬาที่ประสบความล้มเหลวอยู่ในระดับต่ำ  ด้านอารมณ์  นักกีฬาที่ประสบความสำเร็จอยู่ในระดับสูง  และนักกีฬาที่ประสบความล้มเหลวอยู่ในระดับปานกลาง  ด้านความพยายามชั่วขณะ  นักกีฬาที่ประสบความสำเร็จและนักกีฬาที่ประสบความล้มเหลวอยู่ในระดับปานกลาง  ด้านความสามารถ  นักกีฬาที่ประสบความสำเร็จและนักกีฬาที่ประสบความล้มเหลวอยู่ในระดับปานกลาง  ปัจจัยภานใน  (คงที่)  ด้านความพยายามถาวร  นักกีฬาที่ประสบความสำเร็จและนักกีฬาที่ประสบความล้มเหลวอยู่ในระดับปานกลาง
สุเมธ  พรหมอินทร์ (2531 : บทคัดย่อ)  ได้ทำการวิจัยเรื่อง  ความคิดเห็นของนักกีฬาเกี่ยวกับปัญหาการฝึกซ้อม  ในการเตรียมตัวเข้าแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 15  โดยใช้แบบสอบถามนักกีฬามหาวิทยาลัย  หรือนักกีฬาสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในเขตกรุงเทพมหานคร  จำนวน 1050 ฉบับ  ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา 985 ฉบับ  คิดเป็น 93.50%  ผลการวิจัยปรากฎว่า  นักกีฬาทุกสถาบันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการฝึกซ้อมในด้านสถานที่ อุปกรณ์  สุขภาพ  กำลังใจ  อยู่ในระดับน้อย  ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการฝึกซ้อม อยู่ในระดับน้อยที่สุด  ด้านผู้ฝึกสอน  ด้านนักกีฬา  เพื่อนร่วมทีม
อริสรา  ลอยเมฆ (2539 : บทคัดย่อ)  ได้ทำการวิจัยเรื่อง  การศึกษาความวิตกกังวลของนักกรีฑาประเภทลู่กลุ่มประเทศอาเซียน  ที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาซีเกมส์  จำนวน 140 คน  เป็นชาย 84 คน  หญิง 56 คน  ได้มาโดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง  ผลการวิจัยพบว่า  นักกรีฑาประเภทลู่ของกลุ่มประเทศอาเซียน  มีระดับความวิตกกังวลตามสถานการณ์อยูในระดับสูง  ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 47.91 ส่วนความวิตกกังวลตามลักษณะนิสัยอยู่ในระดับปานกลาง  ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 47.50 ส่วนนักกรีฑาจากประเทศบรูไน  มีค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลตามสถานการณ์แตกต่างกับประเทศอื่นอีก 5 ประเทศ  สำหรับนักกรีฑา ชายและหญิงมีระดับความวิตกกังวลตามสถานการณ์และความวิตกกังวลตามลักษณะนิสัยไม่ต่างกัน  นักกรีฑาระยะสั้น ระยะกลาง ระยะไกล มีค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลตามสถานการณ์และความวิตกกังวลตามลักษณะนิสัยไม่ต่างกัน








บทที่ 3
วิธีการดำเนินการวิจัย

วิธีการดำเนินการวิจัย
                การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบสาเหตุ และระดับความวิตกกังวล ของนักกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยครั้งที่ 38 ซึ่งผู้ทำการวิจัยได้เสนอขั้นตอนในการดำเนินงานดังนี้
1.       กลุ่มตัวอย่าง
2.       เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3.       การวิเคราะห์ทางสถิติ
กลุ่มตัวอย่าง
                กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทำการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักกีฬาประเภทเดี่ยว และทีม ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยครั้งที่ 38 จำนวนทั้งสิ้น 80 คน แบ่งเป็นนักกีฬาประเภทเดี่ยวจำนวน 40 คน และ ประเภททีม 40 คน จาก 13 ชนิดกีฬา เป็นประเภทเดี่ยว 9 ชนิดและ ประเภททีม 4 ชนิด
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1.       แบบสอบถาม
2.       แบบวัดความวิตกกังวลในการแข่งขันกีฬา เป็นแบบวัดความวิตกกังวล ซีเอสเอไอ-2 (CSAI – 2) ซึ่ง รศ.ดร.นภพร ทัศนัยนา ได้แปลมาจากมาร์เทนส์ วิลเลย์ และ เบอร์ตัน (Martene Vealey and Burton, 1990) ประกอบด้วยคำถามจำนวน 17 ข้อ มีลักษณะเป็นมาตราประมาณค่า 4 ระดับทุกข้อคำถาม ประมาณค่าไว้ดังนี้

ไม่เลย                                     มีค่าเท่ากับ                             1
บ้าง                                         มีค่าเท่ากับ                             2
ปานกลาง                              มีค่าเท่ากับ                             3
มาก                                         มีค่าเท่ากับ                             4
                แบบวัดซีเอสเอไอ  - 2 (CSAI – 2) เป็นแบบวัดความวิตกกังวล เฉพาะสถานการณ์ที่มีการแข่งขันกีฬา จำแนกองค์ประกอบไว้ 3 องค์ประกอบ คือ
1.       ความวิตกกังวลทางจิต (Cognitive Anxiety) ประกอบด้วย 7 ข้อคำถาม คือ ข้อคำถามที่ 1,4 ,6, 9, 12, 15, 17
2.       ความวิตกกังวลทางกาย (Somatic Anxiety) ประกอบด้วย 5 ข้อคำถาม คือ ข้อคำถามที่ 2,5,8 ,11, 14
3.       ความเชื่อมั่นในตนเอง (Self-Confidence) ประกอบด้วย 5 ข้อคำถาม คือ ข้อคำถามที่3, 6, 9,12,15 18 ,21 ,24 ,27

วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
                ในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย ผู้ทำการวิจัยได้หาข้อมูลในรูปของร้อยละ (%)








บทที่ 4
วิเคราะห์ผลการวิจัย

วิเคราะห์ผลการวิจัย
                ผู้วิจัยได้นำข้อมูลจากแบบสอบถามทั้งหมดจำนวน 80 ชุด มาทำการวิเคราะห์ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลได้นำเสนอในรูปตารางประกอบความเรียง โดยแบ่งการนำเสนอเป็น 2 ตอน ดังนี้
               
ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป เกี่ยวกับสถานภาพ ของผู้ตอบแบบสอบถาม ความวิตกังวลของนักกีฬาประเภทเดี่ยวและ ประเภททีมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครั้งที่ 38 ปรากฎในตารางที่ 1-16
                ตอนที่ 2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุที่ก่อให้เกิดความวิตกกังวล และระดับความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น ดังปรากฎในแผนภูมิที่ 17-27








ตอนที่ 1                 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม
ตารางที่ 1              จำนวน (คน) และค่าร้อยละของกลุ่มตัวอย่างของนักกีฬาประเภทเดี่ยวที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38 จำแนกตามเพศ
เพศ
จำนวน ( คน )
ร้อยละ
ชาย
17
42.5
หญิง
23
57.5
รวม
40
100
จากตารางที่ 1 แสดงให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างนักกีฬาประเภทเดี่ยว เข้าร่วมการแข่งขันกีฬา มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38 ได้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 40 คน เป็นเพศชายจำนวน 17 คน คิดเป็น ร้อยละ 42.5 และเพศหญิงจำนวน 23 คน คิดเป็น ร้อยละ 57.5

ตารางที่ 2              จำนวน (คน) และค่าร้อยละของกลุ่มตัวอย่างของนักกีฬาประเภทเดี่ยวที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38 จำแนกตามอายุ
อายุ
จำนวน ( คน )
ร้อยละ
18
15
37.5
19
10
25
20
6
25
21
7
17.5
22
1
2.5
23
0
0
24
1
2.5
รวม
40
100
                                จากตารางที่ 2 แสดงให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่าง นักกีฬาประเภทเดี่ยวที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38 ได้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 40 คน มีอายุต่ำสุด 18 ปี และอายุสูงสุด 24 ปี และจากตารางด้านบนจะเห็นได้ว่า นักกีฬาประเภทเดี่ยวที่เข้าร่วมการแข่งขันอายุ 18 ปี มีจำนวนกลุ่มตัวอย่างมากที่สุด ถึง 15 คน คิดเป็น ร้อยละ 37.5
ตารางที่ 3              จำนวน (คน) และค่าร้อยละของกลุ่มตัวอย่างของนักกีฬาประเภทเดี่ยวที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38 จำแนกตามระดับการศึกษา
ระดับการศึกษา
จำนวน ( คน )
ร้อยละ
ปริญญาตรี
39
97.5
ปริญญาโท
1
2.5
รวม
40
100
จากตารางที่ 3 แสดงให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่าง นักกีฬาประเภทเดี่ยวที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38 ได้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 40 คน เป็นนิสิตในระดับปริญญาตรี จำนวน 39 คน คิดเป็น ร้อยละ 97.5 และระดับปริญญาโท จำนวน 1 คน คิดเป็น ร้อยละ 2.5

ตารางที่ 4              จำนวน (คน) และค่าร้อยละของกลุ่มตัวอย่างของนักกีฬาประเภทเดี่ยวที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38 จำแนกตามคณะที่ศึกษา
คณะ
จำนวน ( คน )
ร้อยละ
วิทยาศาสตร์การกีฬา
20
50
ครุศาสตร์
3
7.5
เศรษฐศาสตร์
3
7.5
พาณิชยศาสตร์ และการบัญชี
2
5
อักษรศาสตร์
1
2.5
วิศวกรรมศาสตร์
3
7.5
รัฐศาสตร์
3
7.5
นิติศาสตร์
2
5
นิเทศศาสตร์
1
2.5
แพทยศาสตร์
1
2.5
เภสัชศาสตร์
1
2.5
สหเวชศาสตร์
1
2.5
รวม
40
100
                จากตารางที่ 4 แสดงให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่าง นักกีฬาประเภทเดี่ยวที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38 ได้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 40 คน เป็นนิสิตคณะวิทยาศาสตร์การกีฬาจำนวนมากที่สุด ถึง 50 คน คิดเป็น ร้อยละ 50

ตารางที่ 5              จำนวน (คน) และค่าร้อยละของกลุ่มตัวอย่างของนักกีฬาประเภทเดี่ยวที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38 จำแนกตามชนิดกีฬา
ชนิดกีฬา
จำนวน ( คน )
ร้อยละ
เทควันโด
5
12.5
ยูโด
7
17.5
คาราเต้ – โด
6
15
ยิงปืน
4
10
แบดมินตัน
2
5
เทนนิส
6
15
มวยสากลสมัครเล่น
2
5
เทเบิลเทนนิส
2
5
ว่ายน้ำ
6
15
รวม
40
100

จากตารางที่ 5 แสดงให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่าง นักกีฬาประเภทเดี่ยวที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38 ได้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 40 คน เป็นนักกีฬายูโดมีจำนวนมากที่สุด จำนวน 7 คน คิดเป็น ร้อยละ 17.5 และกีฬาแบดมินตัน มวยสากลสมัครเล่น เทเบิลเทนนิส มีจำนวนนักกีฬาน้อบสุด จำนวน 2 คน คิดเป็น ร้อยละ 5
 

ตารางที่ 6              จำนวน (คน) และค่าร้อยละของกลุ่มตัวอย่างของนักกีฬาประเภทเดี่ยวที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38 จำแนกตามประสบการณ์แข่งขัน
ประสบการณ์
จำนวน ( คน )
ร้อยละ
ไม่มี
7
17.5
ระดับประเทศ
28
70
ระดับเขต
5
12.5
รวม
40
100
จากตารางที่ 6 แสดงให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่าง นักกีฬาประเภทเดี่ยวที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38 ได้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 40 คน มีประสบการณ์ระดับประเทศสูงสุด 28 คน คิดเป็น ร้อยละ 70 รองลงมาคือ ไม่มีประสบการณ์ จำนวน 7 คน คิดเป็น ร้อยละ 17.5 และน้อยที่สุดระดับเขต จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 12.5

ตารางที่ 7              จำนวน (คน) และค่าร้อยละของกลุ่มตัวอย่างของนักกีฬาประเภทเดี่ยวที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38 จำแนกตามการตั้งเป้าหมายในการเข้าร่วมแข่งขัน
เป้าหมาย
จำนวน ( คน )
ร้อยละ
รางวัลชนะเลิศ
12
30
รางวัลรองชนะเลิศ
1
2.5
ได้รับเหรียญรางวัล
7
17.5
เข้ารอบรองชนะเลิศ
1
2.5
เข้ารอบ 8 คน
1
2.5
ทำให้ดีที่สุด
16
40
ได้เข้าร่วมการแข่งขัน
2
5
รวม
40
100
                จากตารางที่ 7 แสดงเป้าหมายที่นักกีฬาได้ตั้งไว้ โดยเป้าหมายที่ได้ถูกตั้งไว้สูงสุดคือ การทำให้ดีที่สุด จำนวน 16 คน คิดเป็น ร้อยละ 40 ส่วนเป้าหมายที่ได้ถูกตั้งไว้ต่ำสุดคือ รางวัลรองชนะเลิศ เข้ารอบรองชนะเลิศและ เข้ารอบ 8 คน จำนวนอย่างละ 1 คน คิดเป็น ร้อยละ 2.5
ตารางที่ 8              จำนวน (คน) และค่าร้อยละของกลุ่มตัวอย่างของนักกีฬาประเภทเดี่ยวที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38 จำแนกตามผลที่จะเกิดขึ้นหากไม่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย
ผลที่เกิด
จำนวน ( คน )
ร้อยละ
ไม่ได้รับค่าเล่าเรียน
1
2.5
เสียใจ
8
20
ผิดหวัง
4
10
เครียด
1
2.5
แก้ไขปรับปรุงในครั้งต่อไป
3
7.5
ไม่มีผล
21
52.5
ไม่ระบุ
2
5
รวม
40
100
                จากตารางที่ 8 แสดงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับนักกีฬาเมื่อไม่ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ของนักกีฬาประเภทเดี่ยวพบว่า จำนวน 21 คน คิดเป็น ร้อยละ 52.5 ไม่มีผลต่อนักกีฬาหากไม่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย และผลที่เกิดกับนักกีฬาน้อยที่สุดคือ ความเครียด จำนวน 1 คน คิดเป็น ร้อยละ 2.5

ตารางที่ 9              จำนวน (คน) และค่าร้อยละของกลุ่มตัวอย่างของนักกีฬาประเภททีมที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38 จำแนกตามเพศ
เพศ
จำนวน ( คน )
ร้อยละ
ชาย
18
45
หญิง
22
55
รวม
40
100
จากตารางที่ 9 แสดงให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างนักกีฬาประเภททีม เข้าร่วมการแข่งขันกีฬา มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38 ได้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 40 คน เป็นเพศชายจำนวน 18 คน คิดเป็น ร้อยละ 45 และเพศหญิงจำนวน 22 คน คิดเป็น ร้อยละ 55
ตารางที่ 10            จำนวน (คน) และค่าร้อยละของกลุ่มตัวอย่างของนักกีฬาประเภททีมที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38 จำแนกตามอายุ
อายุ
จำนวน ( คน )
ร้อยละ
18
0
0
19
10
25
20
20
50
21
4
12.5
22
4
12.5
23
1
2.5
24
1
2.5
รวม
40
100
                                จากตารางที่ 10 แสดงให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่าง นักกีฬาประเภททีมที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38 ได้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 40 คน มีอายุต่ำสุด 19 ปี และอายุสูงสุด 24 ปี และจากตารางด้านบนจะเห็นได้ว่า นักกีฬาประเภททีมที่เข้าร่วมการแข่งขันอายุ 20 ปี มีจำนวนกลุ่มตัวอย่างมากที่สุด ถึง 20 คน คิดเป็น ร้อยละ 50

ตารางที่ 11            จำนวน (คน) และค่าร้อยละของกลุ่มตัวอย่างของนักกีฬาประเภททีมที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38 จำแนกตามระดับการศึกษา
ระดับการศึกษา
จำนวน ( คน )
ร้อยละ
ปริญญาตรี
37
92.5
ปริญญาโท
3
7.5
รวม
40
100
จากตารางที่ 3 แสดงให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่าง นักกีฬาประเภททีมที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38 ได้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 40 คน เป็นนิสิตในระดับปริญญาตรี จำนวน 37 คน คิดเป็น ร้อยละ 92.5 และระดับปริญญาโท จำนวน 3 คน คิดเป็น ร้อยละ 7.5
ตารางที่ 12            จำนวน (คน) และค่าร้อยละของกลุ่มตัวอย่างของนักกีฬาประเภททีมที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38 จำแนกตามคณะที่ศึกษา
คณะ
จำนวน ( คน )
ร้อยละ
วิทยาศาสตร์การกีฬา
29
72.5
ครุศาสตร์
5
12.5
เศรษฐศาสตร์
2
5
พาณิชยศาสตร์ และการบัญชี
1
2.5
อักษรศาสตร์
1
2.5
วิศวกรรมศาสตร์
2
5
รวม
40
100















                จากตารางที่ 12 แสดงให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่าง นักกีฬาประเภททีมที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38 ได้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 40 คน เป็นนิสิตคณะวิทยาศาสตร์การกีฬาจำนวนมากที่สุด ถึง 29 คน คิดเป็น ร้อยละ 72.5

ตารางที่ 13            จำนวน (คน) และค่าร้อยละของกลุ่มตัวอย่างของนักกีฬาประเภททีมที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬา มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38 จำแนกตามชนิดกีฬา
ชนิดกีฬา
จำนวน ( คน )
ร้อยละ
ฮอกกี้
19
47.5
ฟุตบอล
9
22.5
วอลเลย์บอล
9
22.5
บาสเกตบอล
3
7.5
รวม
40
100
จากตารางที่ 13 แสดงให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่าง นักกีฬาประเภททีมที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38 ได้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 40 คน เป็นนักกีฬาฮอกกี้มีจำนวนมากที่สุด จำนวน 19 คน คิดเป็น ร้อยละ 47.5 และกีฬาบาสเกตบอล มีจำนวนนักกีฬาน้อยสุด จำนวน 3 คน คิดเป็น ร้อยละ 7.5
ตารางที่ 14            จำนวน (คน) และค่าร้อยละของกลุ่มตัวอย่างของนักกีฬาประเภททีมที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38 จำแนกตามประสบการณ์แข่งขัน
ประสบการณ์
จำนวน ( คน )
ร้อยละ
ไม่มี
13
32.5
ระดับประเทศ
4
10
ระดับเขต
23
57.5
รวม
40
100
จากตารางที่ 14 แสดงให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่าง นักกีฬาประเภททีมที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38 ได้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 40 คน มีประสบการณ์ระดับเขตสูงสุด 23 คน คิดเป็น ร้อยละ 57.5 รองลงมาคือ ไม่มีประสบการณ์ จำนวน 13 คน คิดเป็น ร้อยละ 32.5 และน้อยที่สุดระดับประเทศ จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 10

ตารางที่ 15            จำนวน (คน) และค่าร้อยละของกลุ่มตัวอย่างของนักกีฬาประเภททีมที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38 จำแนกตามการตั้งเป้าหมายในการเข้าร่วมแข่งขัน
เป้าหมาย
จำนวน ( คน )
ร้อยละ
รางวัลชนะเลิศ
19
47.5
ได้รับเหรียญรางวัล
4
10
เข้ารอบรองชนะเลิศ
3
7.5
เข้ารอบสอง
8
20
ทำให้ดีที่สุด
4
10
ได้เข้าร่วมการแข่งขัน
1
2.5
รวม
40
100
                จากตารางที่ 15 แสดงเป้าหมายที่นักกีฬาได้ตั้งไว้ โดยเป้าหมายที่ได้ถูกตั้งไว้สูงสุดคือ รางวัลชนะเลิศจำนวน 19 คน คิดเป็น ร้อยละ 47.5 ส่วนเป้าหมายที่ได้ถูกตั้งไว้ต่ำสุดคือ ได้เข้าร่วมการแข่งขัน จำนวน 1 คน คิดเป็น ร้อยละ 2.5
ตารางที่ 16            จำนวน (คน) และค่าร้อยละของกลุ่มตัวอย่างของนักกีฬาประเภททีมที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38 จำแนกตามผลที่จะเกิดขึ้นหากไม่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย
ผลที่เกิด
จำนวน ( คน )
ร้อยละ
เสียใจ
10
25
ผิดหวัง
7
17.5
เบื่อหน่าย
3
7.5
แก้ไขปรับปรุงในครั้งต่อไป
1
2.5









เสียดาย
2
5
เลิกเล่น
1
2.5
ไม่มีผล
15
37.5
ไม่ระบุ
1
2.5
รวม
40
100
               
จากตารางที่ 16 แสดงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับนักกีฬาเมื่อไม่ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ของนักกีฬาประเภททีมพบว่า จำนวน 15 คน คิดเป็น ร้อยละ 37.5 ไม่มีผลต่อนักกีฬาหากไม่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย และผลที่เกิดกับนักกีฬาน้อยที่สุดคือ เลิกเล่น และแก้ไขในครั้งต่อไป จำนวนอย่างละ 1 คน คิดเป็น ร้อยละ 2.5





ตอนที่ 2                 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุที่ก่อให้เกิดความวิตกกังวล และระดับความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น
แผนภูมิที่ 17         แสดงการเปรียบเทียบสาเหตุของความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นระหว่างกีฬาประเภทเดี่ยวและ
ประเภททีม


                จากแผนภูมิแสดงถึงสาเหตุของปัญหาที่ทำให้เกิดความวิตกกังวล ของนักกีฬาประเภทเดี่ยวและประเภททีม พบว่าในนักกีฬาประเภททีมสาเหตุที่ทำให้เกิดความวิตกกังวลมากที่สุด คือ ด้านสุขภาพ คิดเป็นร้อยละ 45 และน้อยที่สุด ด้านประสบการณ์ คิดเป็นร้อยละ 2.5 สำหรับนักกีฬาประเภทเดี่ยว สาเหตุที่ทำให้เกิดความวิตกกังวลมากที่สุด คือ ด้านสุขภาพเช่นกัน คิดเป็นร้อยละ 27.5 และน้อยที่สุดคือ ความวิตกกังวลจากการกลัวความผิดหวัง คิดเป็นร้อยละ 2.5


แผนภูมิที่ 18         แสดงการเปรียบเทียบผู้มีความวิตกกังวลจากสุขภาพ และการแก้ไขระหว่างกีฬาประเภทเดี่ยวและประเภททีม


จากแผนภูมิแสดงถึงวิธีการแก้ปัญหาสำหรับนักกีฬา ที่มีสาเหตุของความวิตกกังวลจากการมีปัญหาด้านสุขภาพ โดยแบ่งเป็นนักกีฬาประเภทเดี่ยวและประเภททีม พบว่า ในนักกีฬาประเภททีมเลือกวิธีการแก้ไขปัญหา โดยการรักษาสุขภาพมากที่สุด คิดเป็น ร้อยละ 50 และน้อยที่สุด คือ แก้ไขโดยปรึกษาผู้อื่น คิดเป็น ร้อยละ 0 สำหรับนักกีฬาประเภทเดี่ยว เลือกวิธีแก้ไขปัญหา โดยการรักษาสุขภาพมากที่สุดเช่นเดียวกัน คิดเป็นร้อยละ 49 และน้อยที่สุด คือ แก้ไขโดยปรึกษาผู้อื่น คิดเป็น ร้อยละ 0




แผนภูมิที่ 19         แสดงการเปรียบเทียบผู้มีความวิตกกังวลจากการกลัวความผิดพลาด และการแก้ไขระหว่างกีฬาประเภทเดี่ยวและประเภททีม


                จากแผนภูมิแสดงถึงวิธีการแก้ปัญหาสำหรับนักกีฬาที่มีสาเหตุของความวิตกกังวลจากการกลัวความผิดพลาด โดยแบ่งเป็นนักกีฬาประเภทเดี่ยวและประเภททีม พบว่า ในนักกีฬาประเภททีม เลือกวิธีแก้ไขปัญหาด้วยตนเองมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 58 น้อยที่สุดคือการแก้ไขปัญหาโดยการรักษาสุขภาพ ปรึกษาผู้อื่น และไม่ระบุแนวทางแก้ไข คิดเป็นร้อยละ 7 สำหรับในนักกีฬาประเภทเดี่ยว เลือกวิธีการแก้ไขปัญหาด้วยตนเองมากที่สุดเช่นเดียวกัน คิดเป็นร้อยละ 71 และเลือกวิธีการแก้ไขโดยการรักษาสุขภาพน้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 0



แผนภูมิที่ 20         แสดงการเปรียบเทียบผู้มีความวิตกกังวลจากการการกลัวคู่ต่อสู้ และการแก้ไขระหว่างกีฬาประเภทเดี่ยวและประเภททีม


จากแผนภูมิแสดงถึงวิธีการแก้ปัญหาสำหรับนักกีฬาที่มีสาเหตุของความวิตกกังวลจากการกลัวผู้ต่อสู้ โดยแบ่งเป็นนักกีฬาประเภทเดี่ยวและ ประเภททีม พบว่า ในนักกีฬาประเภททีม เลือกวิธีแก้ไขปัญหาด้วยตนเองมากที่สุดคิดเป็น ร้อยละ 67 และเลือกวิธีแก้ไขปัญหาโดยสุขภาพน้อยที่สุด คิดเป็น ร้อยละ 0 สำหรับในนักกีฬาประเภทเดี่ยว เลือกวิธีการแก้ไขปัญหา โดยการรักษาสุขภาพน้อยที่สุด คิดเป็น ร้อยละ 0



แผนภูมิที่ 21         แสดงการเปรียบเทียบผู้มีความวิตกกังวลจากประสบการณ์ และการแก้ไขระหว่างกีฬา ประเภทเดี่ยวและประเภททีม


จากแผนภูมิแสดงถึงวิธีการแก้ปัญหาสำหรับนักกีฬาที่มีสาเหตุของความวิตกกังวลจากประสบการณ์ โดยแบ่งเป็นนักกีฬาประเภทเดี่ยวและ ประเภททีม พบว่า ในนักกีฬาประเภททีม เลือกที่จะแก้ไขปัญหาด้วยตนเองทั้งหมด คิดเป็น ร้อยละ 100 สำหรับนักกีฬาประเภทเดี่ยว เลือกที่จะแก้ไขปัญหาด้วยตนเองมากที่สุดเช่นกัน คิดเป็น ร้อยละ 75 และแก้ไขโดยการรักษาสุขภาพ และโดยการปรึกษาผู้อื่นน้อยที่สุด คิดเป็น ร้อยละ 0




แผนภูมิที่ 22         แสดงการเปรียบเทียบผู้มีความวิตกกังวลจากการกลัวความผิดหวัง และการแก้ไขระหว่างกีฬาประเภทเดี่ยวและประเภททีม


จากแผนภูมิแสดงถึงวิธีการแก้ปัญหาสำหรับนักกีฬาที่มีสาเหตุของความวิตกกังวลจากการกลัวความผิดหวัง โดยแบ่งเป็นนักกีฬาประเภทเดี่ยวและ ประเภททีม พบว่า ในนักกีฬาประเภททีม เลือกวิธีการแก้ไขปัญหาโดยการฝึกซ้อม และรักษาสุขภาพ มากที่สุดคิดเป็น ร้อยละ 50 สำหรับในนักกีฬาประเภทเดี่ยวเลือกที่จะแก้ไขปัญหาด้วยตนเองทั้งหมด คิดเป็น ร้อยละ 100




แผนภูมิที่ 23         แสดงการเปรียบเทียบระดับความวิตกกังวลในแต่ละด้านของนักกีฬาประเภทเดี่ยว


จากแผนภูมิ แสดงระดับความวิตกกังวลในแต่ละด้านของนักกีฬาประเภทเดี่ยว พบว่า นักกีฬาส่วนใหญ่มีความวิตกกังวลทางกายอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็น ร้อยละ 57.5 มีความวิตกกังวลทางจิตอยู่ในระดับ        ปานกลาง คิดเป็น ร้อยละ 62.5 และมีความเชื่อมั่นในตนเองอยู่ในระดับปานกลางเช่นกัน คิดเป็น ร้อยละ 57.5






แผนภูมิที่ 24         แสดงการเปรียบเทียบระดับความวิตกกังวลในแต่ละด้านของนักกีฬาประเภททีม


จากแผนภูมิ แสดงระดับความวิตกกังวลในแต่ละด้านของนักกีฬาประเภททีม พบว่า นักกีฬาส่วนใหญ่มีความวิตกกังวลทางกายอยู่ในระดับต่ำ คิดเป็น ร้อยละ 57 มีความวิตกกังวลทางจิตอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็น ร้อยละ 55 และมีความเชื่อมั่นในตนเองอยู่ในระดับปานกลางเช่นกัน คิดเป็น ร้อยละ 62






แผนภูมิที่ 25         แสดงการเปรียบเทียบระดับความวิตกกังวลด้านร่างกายของนักกีฬาประเภทเดี่ยวและทีม


จากแผนภูมิ แสดงการเปรียบเทียบความวิตกกังวลทางกายระหว่างนักกีฬาประเภทเดี่ยวและ ประเภททีม พบว่า นักกีฬาประเภทเดี่ยวส่วนใหญ่ มีความวิตกกังวลทางกายอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็น ร้อยละ 57.5 แต่นักกีฬาประเภททีมส่วนใหญ่ มีความวิตกกังวลทางกายอยู่ในระดับต่ำ คิดเป็น ร้อยละ 57.5





แผนภูมิที่ 26         แสดงการเปรียบเทียบระดับความวิตกกังวลด้านจิตใจของนักกีฬาประเภทเดี่ยวและทีม


จากแผนภูมิ แสดงการเปรียบเทียบความวิตกกังวลทางจิตระหว่างนักกีฬาประเภทเดี่ยวและ ประเภททีม พบว่า นักกีฬาประเภทเดี่ยวส่วนใหญ่ มีความวิตกกังวลทางจิตอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็น ร้อยละ 62.5 และนักกีฬาประเภททีมส่วนใหญ่ มีความวิตกกังวลทางกายอยู่ในระดับปานกลางเช่นกัน คิดเป็น ร้อยละ 55






แผนภูมิที่ 27         แสดงการเปรียบเทียบระดับความวิตกกังวลด้านความเชื่อมั่นในตนเองของนักกีฬา                ประเภทเดี่ยวและทีม


จากแผนภูมิ แสดงการเปรียบเทียบความวิตกกังวลด้านความเชื่อมั่นในตนเองระหว่างนักกีฬาประเภทเดี่ยวและ ประเภททีม พบว่า นักกีฬาประเภทเดี่ยวส่วนใหญ่ มีความวิตกกังวลด้านความเชื่อมั่นในตนเองอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็น ร้อยละ 57.5 และนักกีฬาประเภททีมส่วนใหญ่ มีความวิตกกังวลด้านความเชื่อมั่นในตนเองอยู่ในระดับปานกลางเช่นกัน คิดเป็น ร้อยละ 62.5






บทที่ 5
สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

                การวิจัยเรื่องความวิตกกังวลในนักกีฬาประเภทเดี่ยว และประเภททีม ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และเปรียบเทียบระดับความวิตกกังวลทางกาย ทางจิต และด้านความเชื่อมั่น รวมถึงสาเหตุของความวิตกกังวลในด้านต่างๆ โดยกลุ่มตัวอย่างได้จากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 80 คน แบ่งเป็นนักกีฬาประเภทเดี่ยว 40 คน และนักกีฬาประเภททีม 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบวัดความวิตกกัวล ซีเอสเอไอ – 2 (CSAI – 2) ของ มาร์เท็นส์ วิลเลย์ และเบอร์ตัน (Martens, Vealey and Burton) ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยโดย นภพร ทัศนัยนา และ แบบสอบถามสาเหตุของความวิตกกังวลที่ทางกลุ่มวิจัยได้จัดทำขึ้น

สรุปผลการวิจัย
1.       ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปของผู้ที่ตอบแบบสอบถาม ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างนักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38 ทั้งประเภทเดี่ยว และประเภททีมพบว่า
1.1    กลุ่มตัวอย่างนักกีฬานักกีฬาประเภทเดี่ยวเป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 42.5 เป็นเพศหญิง คิดเป็น ร้อยละ 57.5 และกลุ่มตัวอย่างนักกีฬาประเภททีม เป็นเพศชาย คิดเป็น ร้อยละ 45 เป็นเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 55
1.2    กลุ่มตัวอย่างนักกีฬาประเภทเดี่ยวส่วนใหญ่มีอายุ 18 ปี คิดเป็น ร้อยละ 37.5 รองลงมามีอายุ 19 ปีคิดเป็นร้อยละ 25 และกลุ่มตัวอย่างนักกีฬาประเภททีมส่วนใหญ่มีอายุ 20 ปี คิดเป็นร้อยละ 50 รองลงมาอายุ 19 ปี คิดเป็นร้อยละ 25
1.3    กลุ่มตัวอย่างนักกีฬาประเภทเดี่ยว ส่วนใหญ่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี คิดเป็น ร้อยละ 97.5 และกลุ่มตัวอย่างนักกีฬาประเภททีม ส่วนใหญ่ กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีเช่นกัน คิดเป็นร้อยละ 92.5
1.4    กลุ่มตัวอย่างนักกีฬาประเภทเดี่ยว ศึกษาในคณะวิทยาศาสตร์การกีฬามากที่สุด คิดเป็น ร้อยละ 50 และกลุ่มตัวอย่างนักกีฬาประเภททีมศึกษาในคณะวิทยาศาสตร์การกีฬามากที่สุดเช่นกัน คิดเป็นร้อยละ 72.5
1.5    กลุ่มตัวอย่างนักกีฬาประเภทเดี่ยว ส่วนใหญ่เป็นนักกีฬายูโด คิดเป็นร้อยละ 17.5 และกลุ่มตัวอย่างนักกีฬาประเภททีม ส่วนใหญ่เป็นนักกีฬาฮอกกี้ คิดเป็น ร้อยละ 47.5
1.6    กลุ่มตัวอย่างนักกีฬาประเภทเดี่ยว และประเภททีมส่วนใหญ่มีประสบการณ์การแข่งขันอยู่ในระดับประเทศ  คิดเป็นร้อยละ 70 และร้อยละ 57.5 ตามลำดับ
2.       ข้อมูลการตั้งเป้าหมายและผลที่จะเกิดขึ้นหากไม่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย
ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปของผู้ที่ตอบแบบสอบถาม ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างนักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38 ทั้งประเภทเดี่ยว และประเภททีมพบว่า
2.1 กลุ่มตัวอย่างนักกีฬาประเภทเดี่ยวส่วนใหญ่ ตั้งเป้าหมายของการแข่งขัน มากที่สุด คือ การแข่งขัน
      ให้ดีที่สุด คิดเป็น ร้อยละ 40 รองลงมา คือเพื่อชนะเลิศในการแข่งขัน คิดเป็น ร้อยละ 30 และกลุ่ม  
      ตัวอย่างประเภททีมส่วนใหญ่ตั้งเป้าหมายของการแข่งขันมากที่สุด คือ ชนะเลิศในการแข่งขัน คิด
      เป็นร้อยละ 47.5 รองลงมา คือ เข้ารอบ 2 คิดเป็นร้อยละ 20
2.2 ผลที่เกิดขึ้นหากไม่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย ของกลุ่มตัวอย่างนักกีฬาประเภทเดี่ยว พบวา
       ร้อยละ 52.5 ไม่มีผลกับนักกีฬามากที่สุด รองลงมา รู้สึกเสียใจ คิดเป็นร้อยละ 20 และกลุ่มตัวอย่าง
       นักกีฬาประเภททีมพบว่า ร้อยละ 37.5 ไม่มีผลกับนักกีฬามากที่สุด รองลงมาคือ รู้สึกเสียใจ คิดเป็น
       ร้อยละ 25
3.       การศึกษาสาเหตุและการขจัดความวิตกกังวลของนักกีฬาประเภทเดี่ยวและประเภททีม ก่อนการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย  ครั้งที่ 38
3.1 กลุ่มตัวอย่างนักกีฬาประเภทเดี่ยวส่วนใหญ่ ไม่มีความวิตกกังวล คิดเป็นร้อยละ 32.5 และกลุ่ม ตัวอย่างนักกีฬาประเภททีม ไม่มีความวิตกกังวล คิดเป็นร้อยละ 5
3.2 กลุ่มตัวอย่างนักกีฬาประเภทเดี่ยว มีความวิตกกังวลด้านสุขภาพ คิดเป็น ร้อยละ 27.5 โดยมีวิธีขจัดความวิตกกังวลโดยการรักษาสุขภาพมากที่สุด คิดเป็น ร้อยละ 45.45 และกลุ่มตัวอย่างของนักกีฬาประเภททีมมีความวิตกกังวลด้านสุขภาพมากที่สุด คิดเป็น ร้อยละ 45 โดยใช้วิธีการขจัดความวิตกกังวลโดยการรักษาสุขภาพมากที่สุด เช่นกัน คิดเป็น ร้อยละ 50
3.3 กลุ่มตัวอย่างนักกีฬาประเภทเดี่ยวมีความวิตกกังวลด้านกลัวความผิดพลาด คิดเป็น ร้อยละ 17.5 จะมีวิธีการขจัดความวิตกกังวลด้วยตนเองมากที่สุด คิดเป้น ร้อยละ 71.43 และกลุ่มตัวอย่างนักกีฬาประเภททีม มีความวิตกกังวลด้านกลัวความผิดพลาด คิดเป็น ร้อยละ 35 มีวิธีขจัดความวิตกกังวลด้วยตนเองมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 57.14
3.4 กลุ่มตัวอย่างนักกีฬาประเภทเดียว มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับคู่ต่อสู้ คิดเป็น ร้อยละ 10 ซึ่งมีวิธีการขจัดความวิตกกังวลด้วยตนเองมากที่สุด คิดเป็น ร้อยละ 50 และกลุ่มตัวอย่างนักกีฬาประเภททีม มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับคู่ต่อสู้ คิดเป็น ร้อยละ 7.5 มีวิธีขจัดความวิตกกังวลด้วยตนเองมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 66.67
3.5 กลุ่มตัวอย่างนักกีฬาประเภทเดี่ยว มีความวิตกกังวล เรื่อง การมีประสบการณ์ คิดเป็นร้อยละ 10 มีวิธีการขจัดความวิตกกังวลด้วยตนเองมากที่สุด คิดเป็น ร้อยละ 75 และกลุ่มตัวอย่างประเภททีม มีความวิตกกังวล เรื่องการมีประสบการณ์ คิดเป็นร้อยละ 2.5 มีวิธีการขจัดความวิตกกังวลด้วยตนเองมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 100
3.6 กลุ่มตัวอย่างนักกีฬาประเภทเดี่ยว มีความวิตกกังวล เรื่อง กลัวความผิดหวัง คิดเป็นร้อยละ 2.5 ซึ่งมีวีการขจัดความวิตกกังวลด้วยตนเองมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 100 และกลุ่มตัวอย่างนักกีฒ่ประเภททีม มีความวิตกกังวลเรื่องกลัวความผิดหวัง คิดเป็นร้อยละ 5 มีวิธีการขจัดความวิตกกังวล ด้วยการฝึกซ้อม และการรักษาสุขภาพ คิดเป็นร้อยละ 50 อย่างละเท่าๆกัน
4.       การศึกษาความวิตกกังวลทางจิต ความวิตกกังวลทางกาย และความเชื่อมั่นในตนเองของนักกีฬาประเภทเดี่ยวและประเภททีม ในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38
4.1 เมื่อพิจารณาตามเกณฑ์ของระดับความวิตกกังวลทางจิต ความวิตกกังวลทางกาย และความเชื่อมั่นในตนเองของนักกีฬาประเภทเดี่ยว พบว่า มีความวิตกกังวลทางกาย อยู่ในระดับปานกลาง (คะแนน 20-30) จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 57.5 และมีความวิตกกังวลทางจิตอยู่ในระดับปานกลาง
(คะแนน 20-30) จำนวน 25 คน คิดเป็น ร้อยละ 62.5 และมีความเชื่อมั่นในตนเองอยู่ในระดับปานกลาง (คะแนน 20-30) จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 57.5
  4.2 เมื่อพิจารณาตามเกณฑ์ของระดับความวิตกกังวลทางจิต ความวิตกกังวลทางกาย และความเชื่อมั่น ในตนเองของนักกีฬาประเภททีม พบว่า มีความวิตกกังวลทางกาย อยู่ในระดับต่ำ (คะแนน 10-19) จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 57.5 และมีความวิตกกังวลทางจิตอยู่ในระดับปานกลาง
(คะแนน 20-30) จำนวน 22 คน คิดเป็น ร้อยละ 55 และมีความเชื่อมั่นในตนเองอยู่ในระดับปานกลาง (คะแนน 20-30) จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 57.5
5.  การเปรียบเทียบสาเหตุของความวิตกกังวลของนักกีฬาประเภทเดี่ยวและประเภททีม ในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยครั้งที่ 38
                5.1 นักกีฬาประเภทเดี่ยว ไม่มีความวิตกกังวลในการแข่งขัน มากกว่านักกีฬาประเภททีม
5.2 นักกีฬาประเภททีม มีความวิตกกังวลด้านสุขภาพ มากกว่านักกีฬาประเภทเดี่ยว
5.3 นักกีฬาประเภททีม มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการกลัวความผิดพลาด มากกว่านักกีฬาประเภทเดี่ยว
5.4 นักกีฬาประเภทเดี่ยว มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับคู่ต่อสู้ มากกว่านักกีฬาประเภททีม
5.5. นักกีฬาประเภทเดี่ยว มีความวิตกกังวล เรื่องการมีประสบการณ์น้อย มากกว่านักกีฬาประเภททีม
5.6 นักกีฬาประเภททีม มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการกลัวความผิดหวัง มากกว่านักกีฬาประเภทเดี่ยว
6. การเปรียบเทียบความวิตกกังวลทางจิต ความวิตกกังวลทางกาย และความเชื่อมั่นในตนเองของนักกีฬาประเภทเดี่ยวและนักกีฬาประเภททีม ในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทสไทยครั้งที่ 38
6.1 ความวิตกกังวลทางกายของนักกีฬาประเภทเดี่ยว อยู่ในระดับปานกลาง (คะแนน 20-30) และความวิตกกังวลทางกายของนักกีฬาประเภททีมอยู่ในระดับต่ำ (คะแนน 10-19)
6.2 ความวิตกกังวลทางจิตของนักกีฬาประเภทเดี่ยว และประเภททีมอยู่ในระดับปานกลาง
     (คะแนน 20-30) เช่นเดียวกัน
                       6.3 ความเชื่อมั่นในตนเองของนักกีฬาประเภทเดี่ยวและประเภททีม อยู่ในระดับปานกลาง 
         ( คะแนน 20-30)








อภิปรายผลการวิจัย
จากทฤษฎีอักษรU คว่ำ (Inverted-U) ได้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างระดับความวิตกกังวลกับความสามารถในการเล่นกีฬาไว้ว่า ความวิตกกังวลระดับกลางจะเป็นระดับที่เหมาะสมที่สุดในการเล่นกีฬา (Le Unes, 1989, Anshel, 1990) ส่วนความวิตกกังวลที่อยู่ในระดับต่ำจะทำให้นักกีฬาขาดความตื่นตัว ขาดความตั้งใจ และขาดสมาธิ ทำให้การแสดงความสามารถต่ำ และถ้านักกีฬามีความวิตกกังวลสูงจะทำให้นักกีฬารู้สึกตื่นเต้น กระสับกระส่าย ลังเลใจ ขาดสมาธิ นักกีฬาไม่สามารถควบคุมร่างกาย และจิตใจจะเป็นผลให้นักกีฬามีความสามารถต่ำ และความเชื่อมั่นในตนเอง มีความสำคัญต่อความสำเร็จในการแข่งขันกีฬา นักกีฬาที่มีความเชื่อมั่นในตนเองจะสามารถควบคุมตนเองแสดงความสามารถของตนเองได้เต็มที่ และสามารถควบคุมสถานการณ์การแข่งขันได้ อย่างไรก็ตามนักกีฬาจะต้องมีความเชื่อมั่นในตนเองที่เหมาะสมจึงจะเล่นกีฬาได้ดี ถ้านักกีฬามีความเชื่อมั่นในตนเองสูงเกินไปจะทำให้นักกีฬาขาดความรอบคอบ ขาดความระมัดระวัง ตัดสินใจผิดพลาด และถ้านักกีฬามีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ ก็จะขาดความมั่นใจในตนเองเกิดความลังเลใจในการตัดสินใจ พลาดโอกาศที่ดีเป็นผลให้นักกีฬามีความสามารถต่ำ (Singer, 1986)

และจากการวิจัยครั้งนี้ พบว่า
1.             นักกีฬาประเภทเดี่ยวมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับคู่ต่อสู้และการมีประสบการณ์น้อย มากกว่านักกีฬาประเภททีมซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ ศิลปชัย สุวรรณธาดา (2533) ที่กล่าวไว้ว่า ความวิตกกังวลมีสาเหตุมาจากการขาดความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง ความจริงแล้วสถานการณ์แข่งขันอาจไม่ได้ก่อให้เกิดความวิตกกังวล แต่การคิดว่าตนเองจะแสดงความสามารถต่ำ ได้รับความพ่ายแพ้ต่างหากที่ก่อให้เกิดความวิตกกังวล การคิดในแง่ลบเกี่ยวกับความสามารถของตนเองนี้จะบิดเบือนสถานการณ์ที่กำลังเผชิญอยู่
2.             นักกีฬาประเภททีมมีความวิตกกังวล ด้านสุขภาพ การกลัวความผิดพลาด และการกลัวความผิดหวังมากกว่านักกีฬาประเภทเดี่ยว เพราะในกีฬาประเภททีมต้องใช้ความสามารถของคนในทีมเพื่อทำให้การแข่งขันของทีมมีประสิทธิภาพมากที่สุด ถ้ามีผู้เล่นในทีมมีปัญหาด้านสุขภาพหรือมีการบาดเจ็บจะส่งผลกระทบต่อทีม ทำให้ผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพกลัวความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นกับทีมและนำไปสู่ความผิดพลาดและความผิดหวังจากเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ ส่วนนักกีฬาประเภทเดี่ยวนั้น ถึงแม้จะมีปัญหาด้านสุขภาพ และแสดงความสามารถออกมาไม่ดี ก็จะไม่มีผลต่อผู้อื่น
3.             นักกีฬาประเภทเดี่ยวมีความวิตกกังวลทางกาย ความวิตกกังวลทางจิต และความเชื่อมั่นในตนเองอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งอยู่ในระดับที่เหมาะสมที่จะทำให้นักกีฬาสามารถเล่นกีฬาได้ดี ซึ่งสอดคล้องกับ ศิริพร จิรวัฒน์กุล (2530) ได้อธิบายถึงความวิตกกังวลระดับกลาง (Moderate Anxiety) ว่า บุคคลรับรู้สิ่งต่างๆได้น้อยลง สนใจตื่นตัว มีสมาธิต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดโดยเฉพาะ การรับรู้ต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลง ความสามารถในการมองสถานการณ์และการแปลความหมายต่างๆน้อยลงและจำกัด มีความรู้สึกท้าทาย ต้องการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้ได้ มีความตื่นกลัวมากขึ้น แต่ยังรับรู้ เข้าใจความเกี่ยวเนื่องของเหตุการณ์อยู่ และตามทฏษฎีอักษร U คว่ำ (ศิลปชัย สุวรรณธาดา, 2533) ซึ่งกล่าวว่า ถ้าระดับความวิตกกังวลมีระดับต่ำมากหรือสูงมาก จะทำให้ความสามารถต่ำ แต่ถ้าระดับความวิตกกังวลที่เหมาะสมจะทำให้ความสามารถสูง ซึ่งทฤษฏีนี้ เป็นที่ยอมรับโดยทั่วกันในการแข่งขันกีฬา ถ้าสามารถควบคุมระดับความวิตกกังวลให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้ จะทำให้นักกีฬาสามารถแสดงความสามารถออกมาได้สูงสุด ความไม่สามารถควบคุมความวิตกกังวล เป็นผลต่อการทำให้ประสิทธิภาพในการเล่นกีฬาไม่ประสบความสำเร็จสูงสุด
4.             นักกีฬาประเภททีมมีความวิตกกังวลทางจิตและมีความเชื่อมั่นในตนเองอยู่ในระดับปานกลางซึ่งเป็นระดับที่เหมาะสมที่จะส่งผลดีในการแข่งขัน เมื่อเปรียบเทียบจากระดับสภาพจิตใจแล้วนักกีฬาประเภททีมจะไม่รู้สึกกดดันแต่เพียงผู้เดียวเหมือนกับนักกีฬาประเภทเดี่ยว และเมื่ออยู่ในภาวะกดดันจะมีเพื่อนร่วมทีมมาช่วยผ่อนคลายสถานการณ์ตึงเครียดในช่วงนั้นได้

ข้อเสนอแนะจากการวิจัยในครั้งนี้
1.       จากการวิจัยพบว่าความวิตกกังวลทางกายของนักกีฬาประเภททีมสูงกว่านักกีฬาประเภทเดี่ยว ดังนั้น ผู้วิจัยจึงขอเสนอแนะผู้ฝึกสอนกีฬา และผู้ที่เกี่ยวข้องได้ฝึกให้นักกีฬารู้จักควบคุมความวิตกกังวลทางกายซึ่ง อาจจะใช้วิธีฝึกการผ่อนคลายกล้ามเนื้อได้ เพื่อให้นักกีฬามีความคงเส้นคงวาในการรับรู้ความสำคัญของสถานการณ์แข่งขัน และนักกีฬาเองควรจะรู้จักดูแลสุขภาพของตนเองอยู่เสมอ
2.       จากผลการวิจัย พบว่าความวิตกกังวลทางจิตของนักกีฬาประเภททีมสูงกว่านักกีฬาประเภทเดี่ยว ผู้วิจัยขอเสนอแนะผู้ฝึกสอนหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้  ควรฝึกความวิตกกังวลทางจิตแบบง่าย โดยการยอมรับการเบี่ยงเบนความคิด การคิดในแง่ที่ดี และการหัวเราะ และวิธีการฝึกสมาธิ ซึ่งวิธีการฝึกสมาธิจะช่วยทำให้นักกีฬาลดความวิตกกังวลให้อยู่ในระดับพอสมควร ซึ่งจะเป็นผลให้แสดงความสามารถได้สูงสุด นอกจากนี้ยังช่วยให้นักกีฬามีสมาธิในการเล่น ทำให้ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น และยังช่วยให้นอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มที่อีกด้วย
3.       จากผลการวิจัยพบว่า ความเชื่อมั่นในตนเองของนักกีฬาประเภททีม สูงกว่านักกีฬาประเภทเดี่ยว ผู้วิจัยขอเสนอแนะ ผู้ฝึกสอน นักกีฬา หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ การเชื่อมั่นในตัวเองสูงเกินไปจะทำให้นักกีฬาเกิดความประมาท ดังนั้นผู้ฝึกสอนจึงควรบอกให้นักกีฬาทำให้เต็มความสามารถของตนเองให้มากที่สุด

วิธีการควบคุมความวิตกกังวลที่ดัดแปลงนำมาใช้ในสถานการณ์กีฬานี้ จะต้องมีการฝึกทำบ่อยๆเช่นเดียวกับทักษะกีฬา ซึ่งจะช่วยให้สามารถทำได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ข้อเสนอแนะในงานวิจัยครั้งต่อไป
1.             ควรศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างความวิตกกังวล กับผลการแข่งขัน
2.             ควรศึกษาถึงนักกีฬาที่แข่งขันทั้งประเภทเดี่ยวและประเภททีม เพิ่มเติม
3.             ควรศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างอื่น เช่นมหาวิทยาลัยอื่นที่ไม่ได้เป็นเจ้าภาพการแข่งขัน
4.             ควรเพิ่มจำนวนกลุ่มตัวอย่างให้มากขึ้น เพื่อลดความคลาดเคลื่อนในงานวิจัย และเพิ่มความเชื่อมั่นในงานวิจัย







รายการอ้างอิง
เจริญ  ธานีรัตน์.(2548).หลักและวิธีการฝึกกีฬา.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ณัฐพร  สุดดี.ความคาดหวังของครูพลศึกษาต่อบทบาทของผู้ปกครอง ในการส่งเสริมการจัดโปรแกรมพลศึกษาในโรงเรียนสาธิต สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2543
ทรงศักดิ์  สร้อยแสงทอง.ความวิตกกังวลในการแข่งขันกีฬาของนักกีฬาที่เข้าร่วมแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยพลศึกษาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 16.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2534
นพพร  เล้าเรืองศิลป์ชัย.การศึกษาความวิตกกังวลในการแข่งขันกีฬาของนักกีฬาพิการที่เข้าแข่งขันกีฬาคนพิการแห่งประเทศไทย  ครั้งที่ 12  ประจำปีพ.ศ.2533.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2533
น้อม  สังข์ทอง.(2543).การจัดการแข่งขันกีฬา(ฉบับปรับปรุงใหม่).สงขลา:การผลิตเอกสารและตำรา มหาวิทยาลัยทักษิณ.
นัยนา  บุพพวงษ์.ความวิตกกังวลของนักเรียนโรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี ในการแข่งขันกีฬานักเรียนนักศึกษากรมพลศึกษา  และการแข่งขันคัดเลือกกีฬาเยาวชนตัวแทนเขต 7.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2538
ประโยค  สุทธิสง่า.เทคนิคการเตรียมสภาพจิตใจกีฬาประเภททีมสู่ซีเกมส์.เอกสารประกอบการบรรยาย  การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ  การเตรียมสภาพความพร้อมทางจิตใจนักกีฬา  และผู้ฝึกสอนกีฬาสู่ซีเกมส์  ครั้งที่ 18 ณ  โรงแรมเชียงใหม่ภูคำ  10-12  พฤศจิกายน,2534.
พีรเจต  ริ้วทอง.การศึกษาแรงจูงใจของนักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย  ครั้งที่ 21 ประจำปี พ.ศ.2536.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์บัณฑิต  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2536
พีรยุทธ  เรื่องวราหะ.ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความวิตกกังวลกับความสามารถของนักกีฬายิงปืนในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย  ครั้งที่  17.วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2533
ภคภูมิ  สุขเกษม.การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย  ครั้งที่ 33 ประจำปี พ.ศ.2548.วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2548
ยศวิน  ปราชญ์นคร.การเปรียบเทียบผลของการตั้งเป้าหมายและการสร้างจินตภาพที่มีผลต่อความสามารถในการยิงประตูโทษในกีฬาบาสเกตบอล.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต  จุฬาลงกรณืมหาวิทยาลัย,2538
วิริยะ  เกตุมาโร.ความสัมพันธ์ระหว่างความวิตกกังวลในการแข่งขันกีฬา  กับความรับผิดชอบในการฝึกซ้อมกีฬาของนักกีฬาในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย  ครั้งที่ 18  พ.ศ.2533.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2534
ศรุตี  ศรีจันทร์วงศ์.การระบุสาเหตุของความสำเร็จและความล้มเหลวในสถานการณ์กีฬาของนักกีฬาชายและนักกีฬาหญิง  ประเภทบุคคลในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย  ครั้งที่ 20  ประจำปี พ.ศ.2536.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2536
ศิลปชัย  สุวรรณธาดา. จิตวิทยาการกีฬา:ความวิตกกังวล เอกสารวิชาการชมรมจิตวิทยา  การกีฬาแห่งประเทศไทย,2532.
สมบัติ  กาญจนกิจ และ สมหญิง  จันทรุไทย.(2542).จิตวิทยาการกีฬา แนวคิด ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ.กรุงเทพมหานคร:บริษัทด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.
สมบัติ  กาญจนกิจ. การเตรียมสภาพความพร้อมทางจิตใจเพื่อความเป็นเลิศในกีฬาซีเกมส์  วารสารการกีฬา.ปีที่ 25  เล่มที่ 11 (พฤศจิกายน),2534
สมบัติ  กาญจนกิจ.จิตวิทยาการกีฬาสำหรับกีฬาปะทะ เอกสารประกอบการสัมมนา  วิทยาศาสตร์การกีฬาสำหรับกีฬาปะทะกรมพลศึกษา. ณ  โรงแรมชาลีน่า  หัวหมาก  กรุงเทพมหานคร,2539.
สมบัติ  กาญจนกิจ. แบบฝึกการสร้างความรู้สึกให้ตนเอง (AUTOGENIC TRAINING) จุลสารวิชาการคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย.ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม), 2533
สุพิตร  สมาหิโต และ สมบัติ  กาญจนกิจ. ความวิตกกังวลตามลักษณะนิสัยและตามสภาพการณ์ของนักกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬา.ปีที่ 4 (มกราคม), 2535
สุเมธ  พรหมอินทร์.ความคิดเห็นของนักกีฬาเกี่ยวกับปัญหาการฝึกซ้อม  ในการเตรียมตัวเข้าแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 15.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
อนันต์  อัตชู.หลักการฝึกกีฬา.กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช, 2536
อริสรา  ลอยเมฆ.การศึกษาความวิตกกังวลของนักกรีฑาประเภทลู่กลุ่มประเทศอาเซียนที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาซีเกมส์  ครั้งที่ 18 ที่จังหวัดเชียงใหม่  ประเทศไทย.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539















ภาคผนวก





แบบสอบถามงานวิจัย
เรื่อง     ความวิตกกังวลของนักกีฬาประเภทเดี่ยวและประเภททีมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย       
ก่อนการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 38
คำชี้แจง:  แบบสอบถามนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนวิชา  การวิจัยทางวิทยาศาสตร์การกีฬา (3900229) โดยผลที่ได้จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการศึกษาเท่านั้น สำหรับแบบสอบถามมีทั้งหมด 2 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1: ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถาม
ส่วนที่ 2: ปัจจัยที่มีผลต่อความวิตกกังวล
ส่วนที่ 3: แบบทดสอบวัดความวิตกกังวล
ส่วนที่ 1: ข้อมูลส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม
เพศ        *ชาย                   *หญิง    อายุ......................ปี    
ระดับการศึกษา                 *  ปริญญาตรี       * ปริญญาโท      * ปริญญาเอก
                                                คณะ………………………………………………..
ชนิดกีฬาที่เข้าร่วมแข่งขัน  ………………………………………………..
ประสบการณ์แข่งขันสูงสุด              *ไม่เคย         * เคย ระดับ................... (เช่น ระดับเขต นานาชาติ)             
ลักษณะนิสัยส่วนตัว    * ใจเย็น   * หงุดหงิดง่าย   *อื่นๆ ………..
โรคประจำตัว     *    มี  ได้แก่…………………………………
                                *   ไม่มี


ส่วนที่ 2: ปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวล
1.       ความคาดหวังต่อผลการแข่งขันของตนเอง/ทีม ในกีฬามหาวิทยาลัยครั้งที่  38
.................................................................................................................................................
                .................................................................................................................................................              
2.       ถ้าคุณไม่ได้รับรางวัลใดๆเลยในการแข่งขันกีฬาครั้งนี้จะมีผลอย่างไร
...................................................................................................................................................................
3.       คุณมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับเรื่องใดบ้างก่อนการแข่งขันครั้งนี้
...................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................
4.       เพราะเหตุใดจึงกังวลเรื่องนี้
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….........................................
5.       แนวทางในการขจัดความวิตกกังวล
.................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................

ส่วนที่ 3: แบบทดสอบวัดความวิตกกังวลตามสถานการณ์ (ฉบับปรับปรุง)
Revised Competitive Sport Anxiety Inventory – 2 (CSAI – 2R)
คำชี้แจง ข้อความต่างๆ ข้างล่างนี้เป็นคำกล่าวที่นักกีฬาใช้อธิบายความรู้สึกของเขา
ก่อนการแข่งขัน โปรดอ่านข้อความแต่ละข้อความและทำเครื่องหมาย Pลงในหมายเลขที่ตรงกับ
ความรู้สึกของท่านมากที่สุด เพื่อบ่งชี้ว่าขณะนี้ท่านมีความรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับการแข่งขันที่กำลัง
จะมาถึง คำตอบจะไม่มีข้อถูกผิด อย่าใช้เวลานานมากเกินไปในแต่ละข้อความ ให้เลือกคำตอบ
ซึ่งสามารถอธิบายความรู้สึกของท่านในขณะนี้



รายการ
ไมเลย
บาง
ปานกลาง
มาก
1
2
3
4
1. ขาพเจารูสึกหวาดผวาวาวุน




2. ขาพเจาพะวงวาจะทำไดไมดีเทาที่ควรในการ  แขงขัน




3. ขาพเจารูสึกมีความเชื่อมั่นในตัวเอง




4. ขาพเจารูสึกวารางกายของขาพเจาตึงเครียด




5. ขาพเจาพะวงวาจะแพ้




6. ขาพเจารูสึกปนปวนในทอง




7. ขาพเจามั่นใจวาขาพเจาสามารถ เผชิญ
หนากับความทาทาย




8. ขาพเจาพะวงวาจะควบคุมตนเองไมได ภายใตความตึงเครียด




9. หัวใจของขาพเจากำลังเตนเร็วขึ้น




10. ขาพเจามั่นใจวาจะเลนไดด ี




11. ขาพเจาพะวงวาจะเลนไดไมดี




12. ขาพเจารูสึกวูบในทอง




13. ขาพเจามั่นใจเพราะไดมองเห็นภาพในใจวาตนเองประสบผลสำเร็จตาม เปาหมาย




14. ขาพเจาพะวงวาจะทำใหผูอื่นผิดหวัง เกี่ยวกับการเลนของขาพเจา




15. มือของข้าพเจ้าเปียกชื้น




16. ขาพเจามั่นใจวาจะผานพนความกดดัน ไปได  ดวยด ี




17. ขาพเจารูสึกรางกายอึดอัด ตึงเครียด






                                                                                                                                                       ขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น