วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555

สึนามิ


tsunami

 


คลื่นสึนามิ (ญี่ปุ่น: 津波 tsunami  คลื่นที่ท่าเรือ หรือ คลื่นชายฝั่ง) คือ คลื่นหรือกลุ่มคลื่นที่มีจุดกำเนิดอยู่ในเขตทะเลลึก ซึ่งมักปรากฏหลังแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ แผ่นดินไหวใต้ทะเล ภูเขาไฟระเบิด ดินถล่ม แผ่นดินทรุด หรืออุกกาบาตขนาดใหญ่ตกลงในทะเล คลื่นสึนามิสามารถเข้าทำลายพื้นที่ชายฝั่ง ทำให้เกิดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินได้

 นักวิชาการได้แบ่งสาเหตุของการเกิดคลื่นสึนามิเป็น  2 ประเภทใหญ่ๆ คือ คลื่นสึนามิจากแผ่นดินไหว (seismic tsunami) และคลื่นสึนามิไร้แผ่นดินไหว (non - seismic tsunami)
1. คลื่นสึนามิจากแผ่นดินไหว เกิดจากแผ่นดินไหวในระดับที่รุนแรง คือ ตั้งแต่ 8.0 ขึ้นไปตามมาตราริกเตอร์ โดยมีจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ใต้พื้นท้องมหาสมุทร หรือที่บริเวณใกล้ชายฝั่งทะเล  ในทางธรณีวิทยา  เปลือกโลกประกอบขึ้นด้วยแผ่นเปลือกโลก(Tectonic plates) หลายๆ แผ่นเชื่อมต่อกัน เมื่อใดที่แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่เข้าหากัน หรือแยกออกจากกันจะก่อให้เกิดแผ่นดินไหวขึ้น โดยความรุนแรงจากการสั่นสะเทือนของเปลือกโลกจะมีมากน้อยแตกต่างกันไปแต่ละคราว บริเวณที่เป็นแนวรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกจึงมักเกิดแผ่นดินไหวขึ้นบ่อยครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณที่ขอบของแผ่นเปลือกโลกแผ่นหนึ่งเลื่อนตัวมุดลงไปใต้ขอบของแผ่นเปลือกโลกอีกแผ่นหนึ่ง จะทำให้เกิดแผ่นดินไหวที่รุนแรง และหากบริเวณนั้นอยู่ใต้ทะเล ก็จะทำให้เกิดคลื่นสึนามิขึ้นได้

2. คลื่นสึนามิไร้แผ่นดินไหว
 แบ่งย่อยออกเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดแรกเกิดจากปรากฏการณ์ตาธรรมชาติ และชนิดที่ 2 เกิดจากการกระทำของมนุษย์
1.       ชนิดที่เกิดจากปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ ปรากฏการณ์ตามธรรมชาติที่อาจก่อให้เกิดคลื่นสึนามิได้ มีดังนี้
 - การเกิดแผ่นดินถล่ม (landslides) ขนาดใหญ่ใกล้ชายฝั่งทะเล
 - การปะทุอย่างรุนแรงของภูเขาไฟใต้ทะเลหรือบนเกาะในทะเล
 - การพุ่งชนของอุกกาบาตลงบนพื้นน้ำในมหาสมุทร
            2. ชนิดที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ตัวอย่างการเกิดของคลื่นสึนามิที่ถือได้ว่ามีสาเหตุมาจากการกระทำของมนุษย์ คือ ปรากฏการณ์คลื่นขนาดใหญ่ที่เคลื่อนตัวมาถึงชายฝั่งของประเทศฟิลิปปินส์ในเดือนกรกฎาคม .ศ. ๒๔๘๙ ทั้งๆ ที่มิได้เกิดแผ่นดินไหวมาก่อน แต่เป็นเพราะมีการทดลองระเบิดปรมาณูของสหรัฐอเมริกาที่เกาะบิกินี ในหมู่เกาะมาร์แชลล์   กลางมหาสมุทรแปซิฟิก เมื่อวันที่ ๑ และวันที่ ๒๙ ของเดือนนั้น ดังนั้นจึงเชื่อว่า ความสั่นสะเทือนของพื้นน้ำที่เกิดจากการทดลองระเบิดปรมาณูก็อาจก่อให้เกิดคลื่นสึนามิขึ้นได้

สาเหตุ

คลื่นสึนามิเกิดขึ้นจากการกระทบกระเทือนที่ทำให้น้ำปริมาณมากเกิดการเคลื่อนตัว เช่น แผ่นดินไหว แผ่นดินถล่ม หรืออุกกาบาตพุ่งชน  เมื่อแผ่นดินใต้ทะเลเกิดการเปลี่ยนรูปร่างอย่างกะทันหัน จะทำให้น้ำทะเลเกิดเคลื่อนตัวเพื่อปรับระดับให้เข้าสู่จุดสมดุลและจะก่อให้เกิดคลื่นสึนามิ การเปลี่ยนรูปร่างของพื้นทะเลมักเกิดขึ้นเมื่อเกิดแผ่นดินไหวเนื่องจากการขยับตัวของเปลือกโลก ซึ่งจะเกิดบริเวณที่ขอบของเปลือกโลกหลายแผ่นเชื่อมต่อกันที่เรียกว่า รอยเลื่อน (fault) เช่น บริเวณขอบของมหาสมุทรแปซิฟิก นอกจากแผ่นดินไหวแล้ว ดินถล่มใต้น้ำที่มักเกิดร่วมกับแผ่นดินไหวสามารถทำให้เกิดคลื่นสึนามิได้เช่นกัน นอกจากการกระทบกระเทือนที่เกิดใต้น้ำแล้ว การที่พื้นดินขนาดใหญ่ถล่มลงทะเล หรือการตกกระทบพื้นน้ำของเทหวัตถุ ก็สามารถทำให้เกิดคลื่นได้ คลื่นสึนามิที่เกิดในรูปแบบนี้จะลดขนาดลงอย่างรวดเร็วและไม่มีผลกระทบต่อชายฝั่งที่อยู่ห่างไกลมากนัก อย่างไรก็ตาม ถ้าแผ่นดินมีขนาดใหญ่มากพอ อาจทำให้เกิด เมกะสึนามิ ซึ่งอาจมีความสูงร่วมร้อยเมตรได้


ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสังคม
ผลของคลื่นสึนามิที่มีต่อสิ่งแวดลอมและสังคม มีดังนี้
                                - สามารถเปลี่ยนสภาพพื้นที่ชายฝงไดในชวงเวลาอันสั้น
                                - ประชาชนขาดที่อยูอาศัย ไรทรัพยสิน สิ้นเนื้อประดาตัว
                                - กระทบกับแรงงานใน 6 จังหวัด ไมนอยกวา 5 แสนคน
                                - กระทบตอรายไดที่ไดจากนักทองเที่ยว
                                - กระทบกับธุรกิจรายยอย เช่น รานคาแผงลอย บริเวณชายหาด
                                - กระทบมัคคุเทศก์ที่พานักทองเที่ยวชมทัศนียภาพ
                                - กระทบตอชาวประมง
                                - เปลี่ยนที่อยูอาศัยของสัตวน้ำบางประเภท
- กระทบตอสิ่งปลูกสรางและสาธารณูปโภค เชน สายไฟถูกทําลาย โรงพยาบาลเสียหายน้ำทวม
- ประชาชนปวยเปนโรคทางจิตเวช ชนิดหนึ่งที่เรียกวา Post-Traumatic Stress Disorder (PTSD) ซึ่งเกิดไดกับเหยื่อของภัยพิบัติทุกชนิด เชน คลื่นยักษพายุ        ไฟไหมน้ำทวม ตึกถลม รถชน เครื่องบินตก
- มีความรายแรงกวาซารสิบเทาวิธีสังเกตและปองกันตนจากคลื่นสึนามิ
สัญญาณการเตือนภัยคลื่นนามิ
ก่อนการเกิดคลื่นนามิ  จะเกิดเหตุการณ์ ดังนี้
1. เกิดแผ่นดินไหว รู้สึกได้บนชายฝั่ง
2. ระดับน้ำที่ชายฝั่งทะเลลดลงมากอย่างรวดเร็วผิดปกติ
3. อีก 5-30 นาทีต่อมา คลื่นยักษ์ซัดกระหน่ำชายฝั่ง ท่วมลึกเข้าไปในแผ่นดิน
4. คลื่นซัดทุกสิ่งกลับลงสู่ทะเล แล้วคลื่นลูกต่อไปจะตามมาในไม่ช้า
      ดังนั้นเมื่อไปเที่ยวชายทะเล หากเกิดแผ่นดินไหว แล้วมีการลดลงระดับน้ำทะเลอย่างรวดเร็ว ให้หนีไปที่สูงลึกเข้าไปในแผ่นดินให้เร็วที่สุดอย่าลืมที่จะร้องเตือนผู้ที่พักผ่อนอยู่ตามชายหาดให้ออกวิ่ง

ข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดคลื่นสึนามิ
1. เมื่อรู้ว่ามีแผ่นดินไหวเกิดขึ้น ขณะที่อยู่ในทะเลหรือบริเวณชายฝั่ง ให้รีบออกจากบริเวณชายฝั่งไปยังบริเวณที่สูงหรือที่ดอนทันที โดยไม่ต้องรอประกาศจากทางราชการ เนื่องจากคลื่นสึนามิเคลื่นที่ด้วยความเร็วสูง
2. เมื่อได้รับฟังประกาศจากทางราชการเกี่ยวกับการเกิดแผ่นดินไหวบริเวณทะเลอันดามัน ให้เตรียมรับสถานะการณ์ที่อาจจะเกิดคลื่นสึนามิตามมาได้ โดยด่วน
3. สังเกตปรากฏการณ์ของชายฝั่ง หากทะเลมีการลดของระดับน้ำลงมาก หลังการเกิดแผ่นดินไหวให้สันนิษฐานว่าอาจเกิดคลื่นสึนามิตามมาได้ ให้อพยพ คนในครอบครัว สัตว์เลี้ยง ให้อยู่ห่างจากชายฝั่งมากๆและอยู่ในที่ดอนหรือน้ำท่วมไม่ถึง
4. ถ้าอยู่ในเรือซึ่งจอดอยู่ในท่าเรือหรืออ่าวให้รีบนำเรือออกไปกลางทะเล เมื่อทราบว่าจะเกิดคลื่นสึนามิพัดเข้าหา เพราะคลื่นสึนามิที่อยู่ไกลชายฝั่งมากๆ จะมีขนาดเล็ก
5. คลื่นสึนามิอาจเกิดขึ้นได้หลายระลอกจากการเกิดแผ่นดินไหวครั้งเดียว เนื่องจากมีการแกว่งไปมาของน้ำทะเล ดังนั้นควรรอสักระยะหนึ่งจึงสามารถลงไปชาดหาดได้
6. ติดตามการเสนอข่าวของทางราชการอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง
7. หากที่พักอาศัยอยู่ใกล้ชายหาด ควรจัดทำเขื่อน กำแพง ปลูกต้นไม้ วางวัสดุ ลดแรงปะทะของน้ำทะเล และก่อสร้างที่พักอาศัยให้มั่นคงแข็งแรง ในบริเวณย่านที่มีความเสี่ยงภัยในเรื่องคลื่นสึนามิ 
8. หลีกเลี่ยงการก่อสร้างใกล้ชายฝั่งในย่านที่มีความเสี่ยงสูง
9. วางแผนในการฝึกซ้อมรับภัยจากคลื่นสึนามิ เช่น กำหนดสถานที่ในการอพยพแหล่งสะสมน้ำสะอาด เป็นต้น 
10. จัดผังเมืองให้เหมาะสม บริเวณแหล่งที่อาศัยควรมีระยะห่างจากชายฝั่ง 
11. ประชาสัมพันธ์ และให้ความรู้ประชาชน ในเรื่องการป้องกันและบรรเทาภัยจากคลื่นสึนามิ และแผ่นดินไหว 
12. วางแผนล่วงหน้า หากเกิดสถานการณ์ขึ้นจริง ในเรื่องการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดขั้นตอนในด้านการช่วยเหลือบรรเทาภัยด้านสาธารณสุข การรื้อถอน และฟื้นฟูสิ่งก่อสร้าง เป็นต้น 
13. อย่าลงไปในชายหาดเพื่อดูคลื่นสึนามิ เพราะเมื่อเห็นคลื่นแล้วก็ใกล้เกินกว่าจะหลบหนีทัน
14. คลื่นสึนามิ ในบริเวณหนึ่งอาจมีขนาดเล็ก แต่อีกบริเวณหนึ่งอาจมีขนาดใหญ่ ดังนั้นเมื่อได้ยินข่าวการเกิดคลื่นสึนามิ ขนาดเล็กในสถานที่หนึ่ง จงอย่าประมาทให้เตรียมพร้อมรับสถานการณ์

สึนามิในประเทศไทย
พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) - สึนามิจากแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย คลื่นสึนามิครั้งแรกในประเทศไทยเกิดจากแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ระลอกคลื่นยักษ์ดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิตล่าสุดจำนวนกว่า 165,000 ราย (มากกว่า 105,000 รายเสียชีวิตในอินโดนีเซีย) คลื่นสึนามิได้ถาโถมเข้าถล่มและคร่าชีวิตผู้คนจำนวนมากที่อาศัยอยู่ในพื้นที่หรือบริเวณที่ใกล้กับจุดเกิดแผ่นดินไหว เช่น อินโดนีเซีย, ไทย, และพื้นที่บริเวณชายฝั่งทางตะวันตกเฉียงเหนือของมาเลเซีย ไปจนถึงพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลออกไปหลายพันกิโลเมตรในบังกลาเทศ, อินเดีย, ศรีลังกา, หมู่เกาะมัลดีลฟ์, และแม้กระทั่งโซมาเลีย, เคนยา, และแทนซาเนีย ซึ่งตั้งอยู่ในแถบแอฟริกาตะวันออก
ประเทศในแถบมหาสมุทรอินเดียเหล่านี้ ยังไม่มีระบบเตือนภัยคลื่นสึนามิที่สมบูรณ์พอดังเช่นประเทศในภูมิภาคมหาสมุทรแปซิฟิก ส่วนหนึ่งเนื่องจากไม่มีภัยพิบัติที่เกิดจากคลื่นยักษ์ในภูมิภาคมานานแล้ว นับตั้งแต่เกิดคลื่นสึนามิจากการระเบิดของภูเขาไฟกรากะตัวในปี พ.ศ. 2426 (ค.ศ. 1883) ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 36,000 คน ภัยพิบัติสึนามิในมหาสมุทรอินเดียล่าสุดนี้ส่งผลให้ยูเนสโกและองค์การระหว่างประเทศหลายแห่งออกมาเคลื่อนไหว เรียกร้องให้มีการจัดตั้งระบบเตือนภัยสึนามิโลกขึ้น






การเกิดสึนามิในประเทศไทย เมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 2547 
      
ตอนเช้าของวันที่ 26 ธันวาคม 2547 เวลา 07.58.50 น. ตามเวลาท้องถิ่น เกิด จากแผ่นดินไหวขนาด 9.0 ริคเตอร์ ในทะเลนอกฝั่งตะวันตกทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ที่ระดับความลึกประมาณ 10 กม. ทำให้มี After shocks เกิดขึ้นหลายสิบครั้ง เป็นระยะทางกว่า 1,200-1,300 กม. ขนานไปตามแนว Sunda Trench ซึ่งเป็นแนวการมุดตัวของแผ่นมหาสมุทรอินเดียลงใต้ แผ่นยูเรเซีย ในทิศเหนือถึงตะวันออกเฉียงเหนือ ทำมุมกับพื้นระนาบประมาณ 10 องศา ในบริเวณ Sunda Trench และทำมุมมากขึ้นในที่ลึกลงไป 
      ปริมาณพลังงานที่ปลดปล่อยจากแผ่นดินไหวครั้งนี้ เทียบได้กับพลังงานทั้งหมด ที่ถูกใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเวลากว่า 1 เดือน ณ ที่ศูนย์กลางแผ่นดินไหว คาดว่ามีการเลื่อนย้อนของแผ่นเปลือกโลกไปตามแนวรอยเลื่อนเป็นระยะทางประมาณ 20 กม. ส่งผลให้พื้นมหาสมุทร ที่ปิดทับอยู่บนรอยเลื่อน ต้นกำเนิดแผ่นดินไหว ที่มีการเคลื่อนที่ไปประมาณ 10 กม.ในทิศตะวันตกเฉียงใต้ เกิดการยกตัวสูงขึ้นในแนวดิ่งของพื้นมหาสมุทร ในบริเวณดังกล่าว ประมาณ 2-3 กม. เป็นต้นกำเนิดของคลื่นยักษ์ที่เดินทางไปใน มหาสมุทรอย่างรวดเร็ว เข้าปะทะกับชายฝั่งมหาสมุทรอินเดีย และทะเลอันดามัน ทางตะวันตกของประเทศไทย ได้แก่  จังหวัดระนอง  พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล






อ้างอิง

o      http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B6%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B4

o      http://www.dss.go.th/dssweb/st-articles/files/pep_5_2548_tsunami.pdf

o      http://www.aksorn.com/lib/detail_print.php?topicid=358

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น